โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก แตกต่างจากฟรีทีวีอย่างไร
โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) มีคุณลักษณะไม่แตกต่างจากโทรทัศน์ระบบไม่บอกรับสมาชิก (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ฟรีทีวี” (Free TV หรือ Free-To-Air TV) ในด้านของสิ่งที่ผู้ชมได้รับโดยทั่วไป คือภาพและสียง แต่ความเป็นจริงนั้นยังมีความแตกต่างด้านอื่นๆ อีก ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านสัญญาณ โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนั้น ผู้ชมที่เป็นสมาชิกสามารถรับสัญญาณได้หลายระบบ เช่น ระบบแอนะล็อก ระบบดิจิตัล การรับสัญญาณผ่านสายสัญญาณ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม แต่โทรทัศน์แบบฟรีทีวี เป็นการส่งสัญญาณภาคพื้นดิน (terrestrial) โดยมีเสาอากาศ (antenna) เป็นตัวรับสัญญาณคลื่นวิทยุ ซึ่งผู้ชมส่วนมากสามารถรับสัญญาณได้ในระบบแอนะล็อก เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบสัญญาณการส่งโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากแอนะล็อกเป็นดิจิตัล (ในหลายประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบโทรทัศน์ทั้งหมดเป็นดิจิตัลแล้ว)
2. ด้านจำนวนช่องรายการผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกจะให้บริการเป็นจำนวนอย่างน้อยนับสิบช่องขึ้นไปถึงจำนวนนับร้อยช่อง ส่วนโทรทัศน์แบบฟรีทีวีนั้นผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่ดำเนินการเฉพาะช่องใดช่องหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกเป็นจำนวนมาก มีทั้งผู้ให้บริการระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่ละรายก็มีจำนวนช่องรายการที่แตกต่างกัน และมีการบริหารจัดการรูปแบบสินค้าและการให้บริการที่แตกต่างกัน บริษัท ทรูวิชั่น (TrueVisions) ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกระดับชาติของประเทศไทยมีชุดรายการขั้นต่ำซึ่งมีรายการทั้งหมดจำนวน 39 ช่อง เรียกว่า ทรูไลฟ์ ฟรีวิว แพ็คเก็จ (TrueLife Freeview package) ส่วนชุดรายการขั้นสูงสุด ได้แก่ ทรูวิชั่นส์ แพลตินั่ม แพ็คเก็จ (True Platinum package) มีรายการทั้งหมดจำนวน 86 ช่อง (http://www.truevisionstv.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552) ส่วนโทรทัศน์แบบฟรีทีวีนั้น ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการอยู่เป็นจำนวน 6 ช่อง ได้แก่ ระบบ VHF (Very High Frequency) จำนวน 4 ช่อง คือ ช่อง 5, 7, 9, 11 และ ระบบ UHF (Ultra High Frequency) จำนวน 2 ช่อง คือ ช่อง 3 และทีวีไทย ช่อง 6
3. ด้านรูปแบบและการจัดรายการการให้บริการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนั้น ส่วนมากจะแบ่งช่องตามประเภทของรายการ เช่น ช่องข่าว ช่องดนตรี ช่องภาพยนตร์ เป็นต้น และมีผังการจัดรายการที่วนซ้ำไปมา ทำให้ผู้ชมสามารถเลือกช่องที่ตรงกับความต้องการได้ง่าย และสามารถติดตามรายการที่พลาดชมได้ ส่วนโทรทัศน์แบบฟรีทีวีนั้น แต่ละช่องจะมีการออกอากาศรายการทุกประเภทผสมผสานกันไป โดยพิจารณาช่วงเวลาออกอากาศให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย นอกจากนั้น โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกยังมีรายการตามสั่งที่ผู้ชมสามารถเลือกชมเพิ่มพิเศษได้โดยต้องจ่ายเงินเพิ่ม
4. ด้านกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มักจะกำหนดกลุ่มผู้ชมรายการโดยคำนึงถึงลักษณะประชากร แต่กลุ่มผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกโดยรวมจะมีลักษณะประชากรที่แตกต่างจากกลุ่มผู้ชมฟรีทีวี เนื่องจากผู้ชมต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนแลกกับช่องรายการที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าสมาชิกของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกจะมีหลายขั้นหลายอัตรา เริ่มต้นด้วยหลักร้อยไปจนถึงหลักพันบาท แต่ความเป็นสมาชิก (subscribership) ก็เป็นปัจจัยที่บอกความแตกต่างด้านสังคมและเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มเป้าหมายของฟรีทีวีและของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกได้
5. ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการรับชมการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกไม่สามารถรับชมผ่านเสาอากาศทั่วไปที่ใช้ในการรับชมฟรีทีวีได้ ตามปกติแล้ว ผู้รับสัญญาณรายการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกไม่ว่าจะเป็นเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมจะต้องมีกล่องรับสัญญาณที่เรียกว่า เซ็ท ท็อป บ๊อกซ์ (set top box) ซึ่งมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า Integrated Receiver Decoder (IRD) เพื่อสื่อสารกับผู้ให้บริการว่าจะเลือกชมรายการใดตามสถานภาพของความเป็นสมาชิก
6. ด้านค่าสมาชิกโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนั้น ผู้ชมต้องสมัครเป็นสมาชิกกับบริษัทหรือหน่วยงานที่ให้บริการ โดยมีการจ่ายค่าสมาชิก (subscription fee) เป็นรายเดือนหรือรายปี หรือตามข้อตกลงระหว่างสมาชิกและผู้ให้บริการ ซึ่งการคิดค่าบริการของโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกมักแตกต่างกันตามชุด (package) หรือขั้น (tier) ของจำนวนช่องรายการที่ผู้ให้บริการกำหนด เช่น ชุดที่มีช่องรายการน้อยก็จะมีราคาถูกกว่าชุดที่มีรายการมาก และยังมีบริการพิเศษเสริมนอกเหนือจากชุดรายการด้วย ในขณะที่โทรทัศน์ระบบฟรีทีวีนั้น ผู้ชมสามารถรับสัญญาณผ่านอากาศ (คลื่นวิทยุ) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือสมัครเป็นสมาชิกแต่อย่างใด
7. ด้านการโฆษณา
แต่เดิมนั้นโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศไทยไม่สามารถมีโฆษณาได้ เนื่องจากมีรายได้จากค่าสมาชิกอยู่แล้ว ในขณะที่โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถมีโฆษณาได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 28 กำหนดให้การประกอบกิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก สามารถโฆษณาและการบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละหกนาที โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาและการบริการธุรกิจ ตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละห้านาที ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้ ผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศไทยคงจะได้ชมโฆษณาด้วย
8. ด้านการควบคุมเนื้อหา
โดยทั่วไปแล้วโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในต่างประเทศมีกฎหมายหรือระเบียบในการควบคุมเนื้อหารายการน้อยกว่าฟรีทีวี เนื่องจากถือว่าไม่ใช่ช่องทางที่เด็กและเยาวชนจะเข้าถึงได้ง่ายเท่ากับฟรีทีวี และผู้รับบริการสามารถเลือกช่องที่ตนต้องการรับชมด้วยตนเอง ซึ่งบางครั้งเป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถออกอากาศทางฟรีทีวีได้ สำหรับประเทศไทยนั้นขณะนี้เป็นช่วงระหว่างการปฏิรูปสื่อ ซึ่งกฎหมายและระเบียบต่างๆยังไม่มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ แต่จากร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุมเนื้อหารายการมากนัก เว้นแต่ ข้อ 8 ที่ระบุถึงสัดส่วนรายการและผังรายการที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องดำเนินการเท่านั้น
พ.ต.ท.หญิง ดร.ศิริวรรณ อนันต์โท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Friday, February 5, 2010
Subscription Television (4)
พัฒนาการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศไทย
ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชื่อ “บริษัทไทยโทรทัศน์” เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกบนพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดำเนินกิจการแบบเอกชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่ก็มีกรมประชาสัมพันธ์เข้าไปดูแลจัดการ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ตั้งอยู่ในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม ทําการแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498
เคเบิลทีวีได้เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยชาวบ้านที่พยายามแก้ปัญหาการรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ไม่ชัดเช่นเดียวกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการเคเบิลรายแรกในประเทศไทยเป็นใครนั้นไม่ทราบ แต่ที่มีหลักฐานก็คือที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มจากการใช้เคเบิลทีวีช่วยรับสัญญาณฟรีทีวีให้ชัดเจนขึ้น และต่อมาการใช้มีการขยายตัวมากขึ้นโดยมีการเผยแพร่ภาพยนตร์จากวีดีโอไปตามสาย ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นก็มีผู้ประกอบการอีกหลายรายในชุมชนที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ชัดเจน เช่นในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน ซึ่งผู้ประกอบการสมัครเล่นเหล่านี้มักมีการแถมช่องภาพยนตร์จากวีดีโอให้ชมด้วย
ในยุคก่อนนั้น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายมารองรับเรื่องเคเบิลทีวีโดยเฉพาะ รัฐปล่อยให้ชาวบ้านทำไปตามยถากรรม ผู้ประกอบการในยุคนั้นจึงถูกกล่าวหาว่าเถื่อนหรือว่าทำผิดกฎหมายไปโดยปริยาย กิจการเคเบิลทีวีในประเทศไทยที่ถือว่าเป็นทางการจริงๆนั้น ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดย IBC (International Broadcasting Corporation) เป็นผู้ให้บริการโดยได้รับสัมปทานจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) มีการแพร่ภาพโดยใช้ระบบ MMDS (Multipoint Multichannel Distribution System) ซึ่งต่อมามีผู้ประกอบการหลักๆในกรุงเทพอยู่สามรายด้วยกัน คือ IBC UTV และ Thai Sky TV ในที่สุด Thai Sky TV ต้องเลิกกิจการพร้อมหนี้สินจำนวนมาก ขณะที่ IBC ต้องควบกิจการกับ UTV จนกลายเป็น UBC (United Broadcasting Corporation) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากความจำเป็นในการอยู่รอดทางธุรกิจ (พนา ทองมีอาคม เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
ปัจจุบันกลุ่ม UBC ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ทรูวิชั่นส์” (TrueVisions) เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศเพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยการให้บริการผ่านการส่งสัญญาณระบบดิจิตัลผ่านดาวเทียมและระบบเคเบิลผ่านโครงข่ายผสมระหว่างเคเบิลใยแก้วนำแสง (optical fiber) และเคเบิลโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) ณ ไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2551 ทรูวิชั่นส์มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 659,227 ราย (TrueVisions เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
นอกจากทรูวิชั่นส์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกระดับชาติเพียงรายเดียวแล้ว ประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมาก เคเบิลทีวีท้องถิ่น คือ การให้บริการเคเบิลทีวีในท้องถิ่นนั้นโดยใช้สายเคเบิลส่งสัญญาณภาพเข้าตรงถึงบ้านผู้ชม เคเบิลทีวีท้องถิ่น เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีข้อจำกัดเรื่องการหาประโยชน์ทางธุรกิจ มีรายได้จากการขายสมาชิก ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแถบชานเมือง หรือไม่ก็เป็นในตัวเมืองตามต่างจังหวัด เพราะเคเบิลทีวีนั้นให้ภาพคมชัดกว่าการใช้เสาอากาศ และมีรายการให้ดูมากมาย ด้วยราคาที่ไม่แพงเกินไป ด้วยอัตราค่าบริการตั้งแต่ 250 บาท สำหรับเมืองเล็กๆ หรืออำเภอเล็กๆ มีรายการต่างๆจำนวนช่อง 40 ช่อง ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ มี 2 ราคาคือ 350 บาท และ 450 บาท โดยมีช่องให้บริการ 60 และ 80 ช่อง ตามลำดับ เนื้อหารายการนำเสนอทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน วาไรตี้ เพลง กีฬา และ ข่าว เป็นรายการจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ
จะเห็นได้ว่าโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีจุดกำเนิดและวิวัฒนาการคล้ายๆกัน คือเริ่มจากการเป็นสื่อชุนชนที่ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล มีบทบาทในการช่วยให้สมาชิกในชุมชนสามารถเข้าถึงรายการโทรทัศน์ฟรีทีวีได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการให้บริการรายการอื่นๆมากขึ้น เช่น ภาพยนตร์ และรายการจากต่างประเทศ โทรทัศน์ที่เรียกกันว่าเคเบิลทีวีนั้นก็มีการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมด้วยทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ดังนั้นความหมายของเคเบิลทีวีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย บางครั้งจึงหมายถึงโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกทั้งระบบผ่านเคเบิลและผ่านดาวเทียม
ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชื่อ “บริษัทไทยโทรทัศน์” เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกบนพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดำเนินกิจการแบบเอกชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่ก็มีกรมประชาสัมพันธ์เข้าไปดูแลจัดการ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ตั้งอยู่ในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม ทําการแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498
เคเบิลทีวีได้เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยชาวบ้านที่พยายามแก้ปัญหาการรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ไม่ชัดเช่นเดียวกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการเคเบิลรายแรกในประเทศไทยเป็นใครนั้นไม่ทราบ แต่ที่มีหลักฐานก็คือที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มจากการใช้เคเบิลทีวีช่วยรับสัญญาณฟรีทีวีให้ชัดเจนขึ้น และต่อมาการใช้มีการขยายตัวมากขึ้นโดยมีการเผยแพร่ภาพยนตร์จากวีดีโอไปตามสาย ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นก็มีผู้ประกอบการอีกหลายรายในชุมชนที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ชัดเจน เช่นในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน ซึ่งผู้ประกอบการสมัครเล่นเหล่านี้มักมีการแถมช่องภาพยนตร์จากวีดีโอให้ชมด้วย
ในยุคก่อนนั้น ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายมารองรับเรื่องเคเบิลทีวีโดยเฉพาะ รัฐปล่อยให้ชาวบ้านทำไปตามยถากรรม ผู้ประกอบการในยุคนั้นจึงถูกกล่าวหาว่าเถื่อนหรือว่าทำผิดกฎหมายไปโดยปริยาย กิจการเคเบิลทีวีในประเทศไทยที่ถือว่าเป็นทางการจริงๆนั้น ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดย IBC (International Broadcasting Corporation) เป็นผู้ให้บริการโดยได้รับสัมปทานจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) มีการแพร่ภาพโดยใช้ระบบ MMDS (Multipoint Multichannel Distribution System) ซึ่งต่อมามีผู้ประกอบการหลักๆในกรุงเทพอยู่สามรายด้วยกัน คือ IBC UTV และ Thai Sky TV ในที่สุด Thai Sky TV ต้องเลิกกิจการพร้อมหนี้สินจำนวนมาก ขณะที่ IBC ต้องควบกิจการกับ UTV จนกลายเป็น UBC (United Broadcasting Corporation) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากความจำเป็นในการอยู่รอดทางธุรกิจ (พนา ทองมีอาคม เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
ปัจจุบันกลุ่ม UBC ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ทรูวิชั่นส์” (TrueVisions) เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศเพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยการให้บริการผ่านการส่งสัญญาณระบบดิจิตัลผ่านดาวเทียมและระบบเคเบิลผ่านโครงข่ายผสมระหว่างเคเบิลใยแก้วนำแสง (optical fiber) และเคเบิลโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) ณ ไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2551 ทรูวิชั่นส์มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 659,227 ราย (TrueVisions เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
นอกจากทรูวิชั่นส์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกระดับชาติเพียงรายเดียวแล้ว ประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมาก เคเบิลทีวีท้องถิ่น คือ การให้บริการเคเบิลทีวีในท้องถิ่นนั้นโดยใช้สายเคเบิลส่งสัญญาณภาพเข้าตรงถึงบ้านผู้ชม เคเบิลทีวีท้องถิ่น เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีข้อจำกัดเรื่องการหาประโยชน์ทางธุรกิจ มีรายได้จากการขายสมาชิก ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแถบชานเมือง หรือไม่ก็เป็นในตัวเมืองตามต่างจังหวัด เพราะเคเบิลทีวีนั้นให้ภาพคมชัดกว่าการใช้เสาอากาศ และมีรายการให้ดูมากมาย ด้วยราคาที่ไม่แพงเกินไป ด้วยอัตราค่าบริการตั้งแต่ 250 บาท สำหรับเมืองเล็กๆ หรืออำเภอเล็กๆ มีรายการต่างๆจำนวนช่อง 40 ช่อง ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ มี 2 ราคาคือ 350 บาท และ 450 บาท โดยมีช่องให้บริการ 60 และ 80 ช่อง ตามลำดับ เนื้อหารายการนำเสนอทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน วาไรตี้ เพลง กีฬา และ ข่าว เป็นรายการจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ
จะเห็นได้ว่าโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีจุดกำเนิดและวิวัฒนาการคล้ายๆกัน คือเริ่มจากการเป็นสื่อชุนชนที่ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล มีบทบาทในการช่วยให้สมาชิกในชุมชนสามารถเข้าถึงรายการโทรทัศน์ฟรีทีวีได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการให้บริการรายการอื่นๆมากขึ้น เช่น ภาพยนตร์ และรายการจากต่างประเทศ โทรทัศน์ที่เรียกกันว่าเคเบิลทีวีนั้นก็มีการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมด้วยทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ดังนั้นความหมายของเคเบิลทีวีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย บางครั้งจึงหมายถึงโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกทั้งระบบผ่านเคเบิลและผ่านดาวเทียม
Subscription Television (3)
วิวัฒนาการของโทรทัศน์ดาวเทียม
โทรทัศน์ดาวเทียม (satellite television) ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1962 เป็นการทดลองส่งสัญญาณจากประเทศฝรั่งเศสผ่านดาวเทียมเทลสตาร์1 (Telstar 1) ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 8 นาที และในปีเดียวกันนั้น รัฐสภาสหรัฐก็ได้ออกพระราชบัญญัติการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Communications Satellite Act) และก่อตั้งดาวเทียมคอมแซท (COMSAT) ภายหลังจากการศึกษาค้นคว้าเป็นเวลานาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงรับ “นโยบายบนฟากฟ้า” (Skies Policy) เพื่อส่งเสริมภาคเอกชนในการเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียม ต่อมาในปี ค.ศ. 1975 Home Box Office (HBO) เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ใช้ดาวเทียม Westar I ส่งรายการโทรทัศน์มายังเครือข่ายเคเบิลทีวีของตน ช่วง ค.ศ. 1976-1980 ธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีความคึกคักขึ้น โดยผู้ประกอบกิจการกลุ่มแรกคือ Home Box Office (HBO), Turner Broadcasting System (TBS) และเครือข่ายศาสนาคริสต์ (Christian Broadcasting Network ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Family Channel)
ตลาดของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบซีแบนด์ที่ใช้จานรับสัญญาณขนาดใหญ่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1981-1985 ช่วงเวลาต่อมา อุปกรณ์ในการรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีราคาลดลงมากพร้อมๆกับจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 1992 บริษัทเจเนอรัล อินสทรูเม็นต์ (General Instrument) สาธิตโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตัลที่มีความละเอียดสูง (High Definition Televison: HDTV) เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1994 เป็นปีที่เริ่มต้นกิจการของไดเร็คทีวี (DirecTV) และ ค.ศ.1996 เป็นปีเริ่มต้นกิจการของ ดิจิตัล สกาย ไฮเวย์ เน็ตเวิร์ค (Digital Sky Highway Network) หรือ ดิช เน็ตเวิร์ค (Dish Network) ภายหลังมีผู้ประกอบการรายอื่นเกิดขึ้นและมีการควบรวมกิจการระหว่างกัน ปัจจุบันนี้ บริษัทที่เป็นผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีการบอกรับสมาชิก (DBS) รายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แก่ ไดเร็คทีวี (DIRECTV) ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 17,621,000 ราย ในปี ค.ศ. 2008 และดิช เน็ตเวิร์ค (Dish Network) ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 13,678,000ราย ในปี ค.ศ. 2008 (Satellite Broadcasting and Communications Association เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนั้นเริ่มต้นส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศ (antenna) ที่ต้นทางส่งสัญญาณขึ้น (uplink) ไปยังดาวเทียม ซึ่งจานดาวเทียมที่ใช้ในการส่งสัญญาณขาขึ้นนั้นจะมีขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9-12 เมตร เมื่อดาวเทียมได้รับสัญญาณแล้วก็จะส่งสัญญาณกลับมายังโลก การส่งสัญญาณขาลงเรียกว่า downlink เมื่อสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้ว ในบางกรณีก็มีการส่งสัญญาณต่อไปยังผู้ชมโดยผ่านเสาอากาศหรือสายเคเบิล ซึ่งผู้ชมที่รับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายอาจไม่ทราบว่ารายการโทรทัศน์ที่ชมอยู่นั้นมีการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมด้วย และบางระบบนั้น การส่งสัญญาณขาลงจากดาวเทียมสามารถรับได้ด้วยจานขนาดเล็ก (mini dish) ที่ติดตั้งอยู่ตามบ้าน ซึ่งส่วนมากจะเป็นระบบเคยูแบนด์ (ku band) เรียกว่า “ไดเร็คทูโฮม” (Direct-To-Home: DTH) หรือในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมเรียกว่า “ไดเร็ค บรอดคาสต์ แซ็ทเทลไลท์ (Direct Broadcast Satellite: DBS) ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการใช้จานดาวเทียมประเภทนี้มาให้เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกกันมาก ในกรณีของ DTH นี้ ผู้ชมจะต้องติดตั้งอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกกันว่ากล่อง เซ็ท ท็อป (set top box) ซึ่งเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยจากการให้บริการของบริษัท ทรูวิชั่นส์ (True Visions)
การให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศอื่นๆนั้น มีพัฒนาการในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ประเทศแคนาดาเริ่มใช้ดาวเทียมเอนิก1 (Anik) ในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งนับว่าเป็นดาวเทียมท้องถิ่น (domestic satellite) ดวงแรกของทวีปอเมริกาเหนือ ปัจจุบันนี้ ประเทศแคนาดามีผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านดาวเทียมจำนวน 2 รายหลักคือ “เบลล์ ทีวี” (Bell TV) และ “ชอว์ ไดเร็กท์” (Shaw Direct) ส่วนในประเทศประเทศสหราชอาณาจักร ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่ “สกาย ดิจิตัล” (Sky Digital) และเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็มีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 1 ราย คือ “ฟรีแซท” (Freesat) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ในให้เป็นระบบดิจิตัลทั้งหมด “ฟรีแซท” ดำเนินการโดยเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 2 ราย ได้แก่ ITV (Independent Television) และ BBC (British Broadcasting Corporation) การให้บริการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านดาวเทียมมีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้มีการส่งสัญญาณเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิตัลและระบบโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย
โทรทัศน์ดาวเทียม (satellite television) ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1962 เป็นการทดลองส่งสัญญาณจากประเทศฝรั่งเศสผ่านดาวเทียมเทลสตาร์1 (Telstar 1) ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 8 นาที และในปีเดียวกันนั้น รัฐสภาสหรัฐก็ได้ออกพระราชบัญญัติการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Communications Satellite Act) และก่อตั้งดาวเทียมคอมแซท (COMSAT) ภายหลังจากการศึกษาค้นคว้าเป็นเวลานาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงรับ “นโยบายบนฟากฟ้า” (Skies Policy) เพื่อส่งเสริมภาคเอกชนในการเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียม ต่อมาในปี ค.ศ. 1975 Home Box Office (HBO) เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ใช้ดาวเทียม Westar I ส่งรายการโทรทัศน์มายังเครือข่ายเคเบิลทีวีของตน ช่วง ค.ศ. 1976-1980 ธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีความคึกคักขึ้น โดยผู้ประกอบกิจการกลุ่มแรกคือ Home Box Office (HBO), Turner Broadcasting System (TBS) และเครือข่ายศาสนาคริสต์ (Christian Broadcasting Network ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Family Channel)
ตลาดของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบซีแบนด์ที่ใช้จานรับสัญญาณขนาดใหญ่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1981-1985 ช่วงเวลาต่อมา อุปกรณ์ในการรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีราคาลดลงมากพร้อมๆกับจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 1992 บริษัทเจเนอรัล อินสทรูเม็นต์ (General Instrument) สาธิตโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบดิจิตัลที่มีความละเอียดสูง (High Definition Televison: HDTV) เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1994 เป็นปีที่เริ่มต้นกิจการของไดเร็คทีวี (DirecTV) และ ค.ศ.1996 เป็นปีเริ่มต้นกิจการของ ดิจิตัล สกาย ไฮเวย์ เน็ตเวิร์ค (Digital Sky Highway Network) หรือ ดิช เน็ตเวิร์ค (Dish Network) ภายหลังมีผู้ประกอบการรายอื่นเกิดขึ้นและมีการควบรวมกิจการระหว่างกัน ปัจจุบันนี้ บริษัทที่เป็นผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีการบอกรับสมาชิก (DBS) รายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แก่ ไดเร็คทีวี (DIRECTV) ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 17,621,000 ราย ในปี ค.ศ. 2008 และดิช เน็ตเวิร์ค (Dish Network) ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 13,678,000ราย ในปี ค.ศ. 2008 (Satellite Broadcasting and Communications Association เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนั้นเริ่มต้นส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศ (antenna) ที่ต้นทางส่งสัญญาณขึ้น (uplink) ไปยังดาวเทียม ซึ่งจานดาวเทียมที่ใช้ในการส่งสัญญาณขาขึ้นนั้นจะมีขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9-12 เมตร เมื่อดาวเทียมได้รับสัญญาณแล้วก็จะส่งสัญญาณกลับมายังโลก การส่งสัญญาณขาลงเรียกว่า downlink เมื่อสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้ว ในบางกรณีก็มีการส่งสัญญาณต่อไปยังผู้ชมโดยผ่านเสาอากาศหรือสายเคเบิล ซึ่งผู้ชมที่รับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายอาจไม่ทราบว่ารายการโทรทัศน์ที่ชมอยู่นั้นมีการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมด้วย และบางระบบนั้น การส่งสัญญาณขาลงจากดาวเทียมสามารถรับได้ด้วยจานขนาดเล็ก (mini dish) ที่ติดตั้งอยู่ตามบ้าน ซึ่งส่วนมากจะเป็นระบบเคยูแบนด์ (ku band) เรียกว่า “ไดเร็คทูโฮม” (Direct-To-Home: DTH) หรือในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมเรียกว่า “ไดเร็ค บรอดคาสต์ แซ็ทเทลไลท์ (Direct Broadcast Satellite: DBS) ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการใช้จานดาวเทียมประเภทนี้มาให้เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกกันมาก ในกรณีของ DTH นี้ ผู้ชมจะต้องติดตั้งอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกกันว่ากล่อง เซ็ท ท็อป (set top box) ซึ่งเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยจากการให้บริการของบริษัท ทรูวิชั่นส์ (True Visions)
การให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศอื่นๆนั้น มีพัฒนาการในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ประเทศแคนาดาเริ่มใช้ดาวเทียมเอนิก1 (Anik) ในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งนับว่าเป็นดาวเทียมท้องถิ่น (domestic satellite) ดวงแรกของทวีปอเมริกาเหนือ ปัจจุบันนี้ ประเทศแคนาดามีผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านดาวเทียมจำนวน 2 รายหลักคือ “เบลล์ ทีวี” (Bell TV) และ “ชอว์ ไดเร็กท์” (Shaw Direct) ส่วนในประเทศประเทศสหราชอาณาจักร ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่ “สกาย ดิจิตัล” (Sky Digital) และเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็มีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 1 ราย คือ “ฟรีแซท” (Freesat) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ในให้เป็นระบบดิจิตัลทั้งหมด “ฟรีแซท” ดำเนินการโดยเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 2 ราย ได้แก่ ITV (Independent Television) และ BBC (British Broadcasting Corporation) การให้บริการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านดาวเทียมมีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้มีการส่งสัญญาณเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิตัลและระบบโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย
Subscription Television (2)
พัฒนาการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี)
พัฒนาการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านสายเคเบิล ถือกำเนิดครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1940s และ 1950s (ค.ศ. 1940-1959) โดยเกิดขึ้นหลายแห่งในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในรัฐอาร์คันซอ (Arkansas) รัฐออเรกอน (Oregon) และรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานหลายๆแหล่งกล่าวว่าต้นกำเนิดของเคเบิลทีวีนั้นเกิดที่รัฐเพนซิลเวเนีย จุดเริ่มต้นของเคเบิลทีวีนั้นเป็นการให้บริการแก่ประชาชนที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดินหรือรับสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุมาทางอากาศด้วยเสาอากาศได้นั่นเอง
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940s (ค.ศ. 1940-1949) รัฐเพนซิลเวเนียมีสถานีโทรทัศน์อยู่ในขณะนั้นเพียงสองถึงสามสถานี ส่วนมากจะตั้งอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ๆเช่นเมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ประชาชนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ หรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถรับสัญญาณได้ก็จะไม่มีโอกาสได้รับชมรายการโทรทัศน์ นายจอห์น วัลสัน (John Walson) ผู้เป็นเจ้าของร้านขายของใช้อยู่ในเมืองเล็กๆชื่อมาฮานอย (Mahanoy City) ประสบปัญหาไม่สามารถขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นเนื่องจากในเขตนั้นไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ชัดเจน ปัญหาอยู่ที่สถานที่ตั้งของเมืองซึ่งอยู่ในหุบเขาและอยู่ห่างจากเครื่องส่งโทรทัศน์ของเมืองฟิลาเดลเฟียเป็นระยะทางเกือบ 90 ไมล์ สัญญาณโทรทัศน์จึงไม่สามารถส่งผ่านภูเขามาได้ ดังนั้นการรับสัญญาณที่ชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับคนในเมืองเล็กๆแห่งนี้ ดังนั้น นายวัลสันจึงติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ไว้บนเสาสูงๆบนยอดเขา เพื่อให้เสาสูงสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้และส่งสัญญาณต่อไปยังเสาอากาศแฝดที่ทำด้วยตะกั่วเชื่อมลงไปยังร้านของเขา เมื่อประชาชนในท้องถิ่นสามารถมองเห็นสัญญาณภาพในโทรทัศน์ได้ ก็ทำให้ยอดขายเครื่องรับโทรทัศน์ของนายวัลสันนั้นเพิ่มขึ้น แต่เขาก็ต้องรับภาระในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ของเขาด้วย เขาเลยปรับปรุงคุณภาพสัญญาณโดยการใช้สายโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) และสร้างตัวขยายสัญญาณ (boosters หรือ amplifiers) ขึ้นมาเอง เพื่อนำสัญญาณเคเบิลทีวีไปยังบ้านของลูกค้าที่ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์เหล่านั้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นหนึ่งของระบบเคเบิลทีวี ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491)
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950s โทรทัศน์ยังนับว่าเป็นนวัตกรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (Federal Communication Commission : FCC) ได้สั่งให้ยุติการสร้างสถานีโทรทัศน์เป็นระยะเวลาสามปี หลังจากนั้นจึงมีการวางแผนการออกอากาศรายการโทรทัศน์ทั่วประเทศ มีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของสถานีโทรทัศน์อย่างรวดเร็ว แม้ว่าในขณะนั้น เคเบิลทีวียังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ร้านค้าตามเมืองต่างๆก็มีการแสดงสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์แบบต่างๆเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่มีการจำหน่ายเพียงเครื่องรับโทรทัศน์ ก็กลายเป็นการจำหน่ายเสาอากาศด้วย ประชาชนผู้พักอาศัยในบ้านเรือนและอพาร์ตเม้นต์ในสมัยนั้นต่างก็มีเสาอากาศอยู่บนหลังคา
มิลตัน เจอร์โรลด์ แชป (Milton Jerrold Shapp) ซึ่งต่อมาภายหลังเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย ได้ทำการพัฒนาระบบที่ทำให้เสาอากาศหลัก (master antenna : MATV) เพียงชุดเดียว สามารถใช้ได้กับเครื่องรับโทรทัศน์หมดทุกเครื่องในอาคารเดียวกัน ความลับของ Shapp ก็คือการใช้สายโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) และตัวขยายสัญญาณ (boosters) ซึ่งสามารถส่งสัญญาณครั้งเดียวไปยังเครื่องรับหลายๆเครื่องได้ ช่วงเวลาเดียวกันในเมืองแลนสฟอร์ด (Lansford) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน พนักงานขายคนหนึ่งชื่อโรเบิร์ต ทาร์ลตัน (Robert Tarlton) เป็นผู้เผชิญปัญหาเช่นเดียวกับนายวัลสัน เขาได้อ่านพบระบบใหม่ของนายแชปและคิดว่า ถ้าระบบนั้นไปได้ดีในบ้านและห้างร้านต่างๆแล้ว ระบบนี้ก็น่าจะใช้ได้ในเมืองของเขาเช่นกัน รูปแบบของเคเบิลทีวีคล้ายๆในปัจจุบันได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อนายทาร์ลตันเชื่อมสัญญาณโทรทัศน์โดยใช้สายโคแอ๊กซ์และตัวขยายสัญญาณที่ผลิตขายในท้องตลาด ผู้บุกเบิกเคเบิลทีวีในยุคแรกๆนั้น นอกจากรายชื่อหลายคนดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังรวมถึงเจ้าของกิจการอย่าง บิล เดเนียล (Bill Daniel) มาร์ติน มาลาร์คีย์ (Martin Malarkey) และ แจ็ค เค้นท์ คุ้ก (Jack Kent Cooke) ภายในปี ค.ศ. 1952 เคเบิลทีวีกลายเป็นระบบโทรทัศน์ที่มีผู้เป็นสมาชิกถึง 14,000 รายทั่วประเทศ
ด้วยนวัตกรรมของนายมิลตัน แชป เคเบิลทีวีก็แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ไปยังพื้นที่ในชนบทที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งที่ออกอากาศในตัวเมือง เคเบิลทีวีในระยะแรกนั้นมีหน้าที่หลักในการช่วยเพิ่มการรับสัญญาณโทรทัศน์ฟรีทีวีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่เสมือน “เสาอากาศของชุมชน” (community antenna : CATV) แต่ในเวลาไม่นานนัก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950s (ค.ศ. 1950-1959) ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีก็เริ่มใช้ประโยชน์จากสัญญาณไมโครเวฟและเทคโนโลยีอื่นๆเพื่อจับสัญญาณการออกอากาศจากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ห่างเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ ความสามารถในการรับสัญญาณจากสถานีที่อยู่ห่างไกลทำให้มีการเปลี่ยนจุดเน้นของธุรกิจเคเบิลทีวี จากการเป็น “เสาอากาศของชุมชน” เป็นธุรกิจที่จัดสรรทางเลือกในรายการใหม่ๆให้กับผู้ชม
ในสมัยนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกามีโทรทัศน์ระบบฟรีทีวีอยู่สามช่อง เมื่อมีธุรกิจเคเบิลทีวีเกิดขึ้นจึงทำให้มีรายการและจำนวนช่องที่มากขึ้นนอกเหนือจากฟรีทีวี เพราะผู้ให้บริการสามารถรับรายการจากสถานีอิสระ (independent stations) ที่อยู่ห่างไกลออกไปนับร้อยไมล์ได้ และเนื่องจากเคเบิลทีวีสามรถจัดหารายการที่หลากหลายจำนวนมากให้แก่ผู้ชม เคเบิลทีวีจึงสามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก และเข้าครอบครองตลาดในเมืองได้อย่างรวดเร็วเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ต้องการมีทางเลือกในการชมรายการโทรทัศน์ที่มากขึ้น
ก่อน ค.ศ. 1962 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเกือบ 800 ราย มีจำนวนสมาชิกประมาณ 850,000 คน ผู้นำตลาดในช่วงนั้นได้แก่ ค็อกซ์ (Cox) เทเลพร็อมเตอร์ (Teleprompter) และเวสติ้งเฮ้าส์ (Westinghouse) ผู้ให้บริการหลายๆรายได้ขยายการให้บริการในเมืองหลายเมืองพร้อมๆกัน จึงเป็นจุดกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการหลายระบบ” (multiple system operator : MSO)
การขยายตัวของธุรกิจเคเบิลทีวีในยุคนั้นก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่นักจัดรายการระดับท้องถิ่นที่ไม่ชอบการแข่งขันกับเคเบิลทีวี จึงได้มีการร้องขอให้รัฐบาลห้ามมิให้เคเบิลทีวีรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีอื่น FCC จึงตอบสนองโดยการกำหนดข้อห้ามไม่ให้เคเบิลทีวีรับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ห่างไกล การ “แช่เย็น” เคเบิลทีวีในยุคนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจเคเบิลทีวีจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1972 เมื่อ FCC เริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์การรับสัญญาณของเคเบิลทีวี อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของเคเบิลทีวีในยุคแรกนั้น เป็นเพียงการขยายสัญญาณฟรีทีวีไปยังบ้านเรือนที่อยู่ห่างไกลโดยใช้สายเคเบิล แต่ยังมิได้มีการจัดรายการต่างๆเพื่อให้บริการสมาชิกแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การจัดรายการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1972 เมื่อเซอร์วิซ อิเล็กทริค (Service Electric) พาดสายเคเบิลในเมืองวิลค์ส-บาร์ (Wilkes-Barre) รัฐเพนซิลเวเนีย เพื่อให้บริการ Home Box Office หรือ HBO ซึ่งนับว่าเป็นการให้บริการเคเบิลทีวีที่มีการบอกรับสมาชิกที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา HBO จึงถือว่า เมืองวิลค์ส-บาร์ เป็นแหล่งกำเนิดของรายการเคเบิลทีวีสมัยใหม่ แม้ว่า HBO จะมีผู้ชมเพียงสองสามร้อยคนในคืนแรกของการให้บริการ แต่ต่อมาก็กลับกลายเป็นบริการเคเบิลทีวีที่มีการบอกรับสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และด้วยความสำเร็จของ HBO นั่นอง การให้บริการแก่ผู้ชมด้วยรายการอื่นๆจึงตามมา
ด้วยสภาพการตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง ผู้ชมโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์และรายการที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูง ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินรวมกันกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาระบบบรอดแบนด์และอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้บริการผู้ชมแบบปฏิสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านสายเคเบิลจำนวน 7,832 ราย (Nielsen Focus, 2008) สร้างรายได้รวมกันกว่า 86,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (SNL Kagan, 2008)
พัฒนาการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านสายเคเบิล ถือกำเนิดครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1940s และ 1950s (ค.ศ. 1940-1959) โดยเกิดขึ้นหลายแห่งในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในรัฐอาร์คันซอ (Arkansas) รัฐออเรกอน (Oregon) และรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานหลายๆแหล่งกล่าวว่าต้นกำเนิดของเคเบิลทีวีนั้นเกิดที่รัฐเพนซิลเวเนีย จุดเริ่มต้นของเคเบิลทีวีนั้นเป็นการให้บริการแก่ประชาชนที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดินหรือรับสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุมาทางอากาศด้วยเสาอากาศได้นั่นเอง
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940s (ค.ศ. 1940-1949) รัฐเพนซิลเวเนียมีสถานีโทรทัศน์อยู่ในขณะนั้นเพียงสองถึงสามสถานี ส่วนมากจะตั้งอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ๆเช่นเมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ประชาชนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ หรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถรับสัญญาณได้ก็จะไม่มีโอกาสได้รับชมรายการโทรทัศน์ นายจอห์น วัลสัน (John Walson) ผู้เป็นเจ้าของร้านขายของใช้อยู่ในเมืองเล็กๆชื่อมาฮานอย (Mahanoy City) ประสบปัญหาไม่สามารถขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นเนื่องจากในเขตนั้นไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ชัดเจน ปัญหาอยู่ที่สถานที่ตั้งของเมืองซึ่งอยู่ในหุบเขาและอยู่ห่างจากเครื่องส่งโทรทัศน์ของเมืองฟิลาเดลเฟียเป็นระยะทางเกือบ 90 ไมล์ สัญญาณโทรทัศน์จึงไม่สามารถส่งผ่านภูเขามาได้ ดังนั้นการรับสัญญาณที่ชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับคนในเมืองเล็กๆแห่งนี้ ดังนั้น นายวัลสันจึงติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ไว้บนเสาสูงๆบนยอดเขา เพื่อให้เสาสูงสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้และส่งสัญญาณต่อไปยังเสาอากาศแฝดที่ทำด้วยตะกั่วเชื่อมลงไปยังร้านของเขา เมื่อประชาชนในท้องถิ่นสามารถมองเห็นสัญญาณภาพในโทรทัศน์ได้ ก็ทำให้ยอดขายเครื่องรับโทรทัศน์ของนายวัลสันนั้นเพิ่มขึ้น แต่เขาก็ต้องรับภาระในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ของเขาด้วย เขาเลยปรับปรุงคุณภาพสัญญาณโดยการใช้สายโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) และสร้างตัวขยายสัญญาณ (boosters หรือ amplifiers) ขึ้นมาเอง เพื่อนำสัญญาณเคเบิลทีวีไปยังบ้านของลูกค้าที่ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์เหล่านั้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นหนึ่งของระบบเคเบิลทีวี ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491)
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950s โทรทัศน์ยังนับว่าเป็นนวัตกรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (Federal Communication Commission : FCC) ได้สั่งให้ยุติการสร้างสถานีโทรทัศน์เป็นระยะเวลาสามปี หลังจากนั้นจึงมีการวางแผนการออกอากาศรายการโทรทัศน์ทั่วประเทศ มีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของสถานีโทรทัศน์อย่างรวดเร็ว แม้ว่าในขณะนั้น เคเบิลทีวียังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ร้านค้าตามเมืองต่างๆก็มีการแสดงสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์แบบต่างๆเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่มีการจำหน่ายเพียงเครื่องรับโทรทัศน์ ก็กลายเป็นการจำหน่ายเสาอากาศด้วย ประชาชนผู้พักอาศัยในบ้านเรือนและอพาร์ตเม้นต์ในสมัยนั้นต่างก็มีเสาอากาศอยู่บนหลังคา
มิลตัน เจอร์โรลด์ แชป (Milton Jerrold Shapp) ซึ่งต่อมาภายหลังเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย ได้ทำการพัฒนาระบบที่ทำให้เสาอากาศหลัก (master antenna : MATV) เพียงชุดเดียว สามารถใช้ได้กับเครื่องรับโทรทัศน์หมดทุกเครื่องในอาคารเดียวกัน ความลับของ Shapp ก็คือการใช้สายโคแอ๊กซ์ (coaxial cable) และตัวขยายสัญญาณ (boosters) ซึ่งสามารถส่งสัญญาณครั้งเดียวไปยังเครื่องรับหลายๆเครื่องได้ ช่วงเวลาเดียวกันในเมืองแลนสฟอร์ด (Lansford) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน พนักงานขายคนหนึ่งชื่อโรเบิร์ต ทาร์ลตัน (Robert Tarlton) เป็นผู้เผชิญปัญหาเช่นเดียวกับนายวัลสัน เขาได้อ่านพบระบบใหม่ของนายแชปและคิดว่า ถ้าระบบนั้นไปได้ดีในบ้านและห้างร้านต่างๆแล้ว ระบบนี้ก็น่าจะใช้ได้ในเมืองของเขาเช่นกัน รูปแบบของเคเบิลทีวีคล้ายๆในปัจจุบันได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อนายทาร์ลตันเชื่อมสัญญาณโทรทัศน์โดยใช้สายโคแอ๊กซ์และตัวขยายสัญญาณที่ผลิตขายในท้องตลาด ผู้บุกเบิกเคเบิลทีวีในยุคแรกๆนั้น นอกจากรายชื่อหลายคนดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังรวมถึงเจ้าของกิจการอย่าง บิล เดเนียล (Bill Daniel) มาร์ติน มาลาร์คีย์ (Martin Malarkey) และ แจ็ค เค้นท์ คุ้ก (Jack Kent Cooke) ภายในปี ค.ศ. 1952 เคเบิลทีวีกลายเป็นระบบโทรทัศน์ที่มีผู้เป็นสมาชิกถึง 14,000 รายทั่วประเทศ
ด้วยนวัตกรรมของนายมิลตัน แชป เคเบิลทีวีก็แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ไปยังพื้นที่ในชนบทที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งที่ออกอากาศในตัวเมือง เคเบิลทีวีในระยะแรกนั้นมีหน้าที่หลักในการช่วยเพิ่มการรับสัญญาณโทรทัศน์ฟรีทีวีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่เสมือน “เสาอากาศของชุมชน” (community antenna : CATV) แต่ในเวลาไม่นานนัก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950s (ค.ศ. 1950-1959) ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีก็เริ่มใช้ประโยชน์จากสัญญาณไมโครเวฟและเทคโนโลยีอื่นๆเพื่อจับสัญญาณการออกอากาศจากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ห่างเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ ความสามารถในการรับสัญญาณจากสถานีที่อยู่ห่างไกลทำให้มีการเปลี่ยนจุดเน้นของธุรกิจเคเบิลทีวี จากการเป็น “เสาอากาศของชุมชน” เป็นธุรกิจที่จัดสรรทางเลือกในรายการใหม่ๆให้กับผู้ชม
ในสมัยนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกามีโทรทัศน์ระบบฟรีทีวีอยู่สามช่อง เมื่อมีธุรกิจเคเบิลทีวีเกิดขึ้นจึงทำให้มีรายการและจำนวนช่องที่มากขึ้นนอกเหนือจากฟรีทีวี เพราะผู้ให้บริการสามารถรับรายการจากสถานีอิสระ (independent stations) ที่อยู่ห่างไกลออกไปนับร้อยไมล์ได้ และเนื่องจากเคเบิลทีวีสามรถจัดหารายการที่หลากหลายจำนวนมากให้แก่ผู้ชม เคเบิลทีวีจึงสามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก และเข้าครอบครองตลาดในเมืองได้อย่างรวดเร็วเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ต้องการมีทางเลือกในการชมรายการโทรทัศน์ที่มากขึ้น
ก่อน ค.ศ. 1962 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเกือบ 800 ราย มีจำนวนสมาชิกประมาณ 850,000 คน ผู้นำตลาดในช่วงนั้นได้แก่ ค็อกซ์ (Cox) เทเลพร็อมเตอร์ (Teleprompter) และเวสติ้งเฮ้าส์ (Westinghouse) ผู้ให้บริการหลายๆรายได้ขยายการให้บริการในเมืองหลายเมืองพร้อมๆกัน จึงเป็นจุดกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการหลายระบบ” (multiple system operator : MSO)
การขยายตัวของธุรกิจเคเบิลทีวีในยุคนั้นก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่นักจัดรายการระดับท้องถิ่นที่ไม่ชอบการแข่งขันกับเคเบิลทีวี จึงได้มีการร้องขอให้รัฐบาลห้ามมิให้เคเบิลทีวีรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีอื่น FCC จึงตอบสนองโดยการกำหนดข้อห้ามไม่ให้เคเบิลทีวีรับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ห่างไกล การ “แช่เย็น” เคเบิลทีวีในยุคนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจเคเบิลทีวีจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1972 เมื่อ FCC เริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์การรับสัญญาณของเคเบิลทีวี อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของเคเบิลทีวีในยุคแรกนั้น เป็นเพียงการขยายสัญญาณฟรีทีวีไปยังบ้านเรือนที่อยู่ห่างไกลโดยใช้สายเคเบิล แต่ยังมิได้มีการจัดรายการต่างๆเพื่อให้บริการสมาชิกแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การจัดรายการของโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1972 เมื่อเซอร์วิซ อิเล็กทริค (Service Electric) พาดสายเคเบิลในเมืองวิลค์ส-บาร์ (Wilkes-Barre) รัฐเพนซิลเวเนีย เพื่อให้บริการ Home Box Office หรือ HBO ซึ่งนับว่าเป็นการให้บริการเคเบิลทีวีที่มีการบอกรับสมาชิกที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา HBO จึงถือว่า เมืองวิลค์ส-บาร์ เป็นแหล่งกำเนิดของรายการเคเบิลทีวีสมัยใหม่ แม้ว่า HBO จะมีผู้ชมเพียงสองสามร้อยคนในคืนแรกของการให้บริการ แต่ต่อมาก็กลับกลายเป็นบริการเคเบิลทีวีที่มีการบอกรับสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และด้วยความสำเร็จของ HBO นั่นอง การให้บริการแก่ผู้ชมด้วยรายการอื่นๆจึงตามมา
ด้วยสภาพการตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง ผู้ชมโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์และรายการที่น่าสนใจและมีคุณภาพสูง ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินรวมกันกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาระบบบรอดแบนด์และอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้บริการผู้ชมแบบปฏิสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกผ่านสายเคเบิลจำนวน 7,832 ราย (Nielsen Focus, 2008) สร้างรายได้รวมกันกว่า 86,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (SNL Kagan, 2008)
Subscription Television (1)
โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก หมายถึงอะไร
นอกจากโทรทัศน์ที่เราเรียกกันว่าฟรีทีวีแล้ว ปัจจุบันนี้ มีการให้บริการโทรทัศน์อีกหลายรูปแบบ ที่เราคุ้นเคยกันมากอีกประเภทหนึ่งก็คือ เคเบิลทีวี ซึ่งเราต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อรับชม
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 บัญญัติว่า
“กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
“กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจาก พรบ ข้างต้น เคเบิลทีวี ก็จะจัดอยู่ใน “กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่” เพราะไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายฯ อย่างไรก็ตาม ความจริงนั้น การส่งสัญญาณเคเบิลทีวีก็ต้องใช้คลื่นความถี่วิทยุเหมือนกัน และโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกก็ไม่จำเป็นต้องส่งสัญญาณผ่านเคเบิลเสมอไป จึงทำให้คนคิดมากอย่างครูเกิดความสับสนว่าจะแยกแยะความแตกต่างระหว่าง โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก และเคเบิลทีวี อย่างไร จึงขอเสนอแนะนิยามต่อไปนี้
โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก (Subscription Television) หมายถึง การให้บริการโทรทัศน์โดยมีการเรียกเก็บค่าสมาชิกหรือค่าบริการจากผู้รับบริการเป็นรายเดือน หรือแบบอื่นตามแต่ข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการและผู้ชมที่เป็นสมาชิก การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนั้นสามารถส่งได้ทั้งระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตัลโดยผ่านสายนำสัญญาณหรือผ่านดาวเทียมก็ได้
โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆตามความนิยม เช่น เรียกตามวิธีการจ่ายค่าบริการว่า Pay Television หรือ Pay TV หรือ เรียกตามสื่อนำสัญญาณที่ผ่านสายว่าเคเบิลทีวี (Cable Television) หรือทีวีดาวเทียม (Satellite Television)อย่างไรก็ตามทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ที่ให้บริการในบ้านเราก็มีทั้งประเภทที่ไม่ต้องบอกรับสมาชิก และต้องบอกรับสมาชิก ดังนั้น ถ้าไม่คิดมาก คิดลึก เราก็เรียกโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกแบบภาษาชาวบ้านว่าเคเบิลทีวี ก็คงพอเข้าใจตรงกันได้
นอกจากโทรทัศน์ที่เราเรียกกันว่าฟรีทีวีแล้ว ปัจจุบันนี้ มีการให้บริการโทรทัศน์อีกหลายรูปแบบ ที่เราคุ้นเคยกันมากอีกประเภทหนึ่งก็คือ เคเบิลทีวี ซึ่งเราต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อรับชม
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 บัญญัติว่า
“กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
“กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่” หมายความว่า กิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจาก พรบ ข้างต้น เคเบิลทีวี ก็จะจัดอยู่ใน “กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่” เพราะไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายฯ อย่างไรก็ตาม ความจริงนั้น การส่งสัญญาณเคเบิลทีวีก็ต้องใช้คลื่นความถี่วิทยุเหมือนกัน และโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกก็ไม่จำเป็นต้องส่งสัญญาณผ่านเคเบิลเสมอไป จึงทำให้คนคิดมากอย่างครูเกิดความสับสนว่าจะแยกแยะความแตกต่างระหว่าง โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก และเคเบิลทีวี อย่างไร จึงขอเสนอแนะนิยามต่อไปนี้
โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก (Subscription Television) หมายถึง การให้บริการโทรทัศน์โดยมีการเรียกเก็บค่าสมาชิกหรือค่าบริการจากผู้รับบริการเป็นรายเดือน หรือแบบอื่นตามแต่ข้อตกลงระหว่างผู้ให้บริการและผู้ชมที่เป็นสมาชิก การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนั้นสามารถส่งได้ทั้งระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตัลโดยผ่านสายนำสัญญาณหรือผ่านดาวเทียมก็ได้
โทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆตามความนิยม เช่น เรียกตามวิธีการจ่ายค่าบริการว่า Pay Television หรือ Pay TV หรือ เรียกตามสื่อนำสัญญาณที่ผ่านสายว่าเคเบิลทีวี (Cable Television) หรือทีวีดาวเทียม (Satellite Television)อย่างไรก็ตามทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ที่ให้บริการในบ้านเราก็มีทั้งประเภทที่ไม่ต้องบอกรับสมาชิก และต้องบอกรับสมาชิก ดังนั้น ถ้าไม่คิดมาก คิดลึก เราก็เรียกโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกแบบภาษาชาวบ้านว่าเคเบิลทีวี ก็คงพอเข้าใจตรงกันได้
Thursday, February 4, 2010
Uses and Gratifications Theory (6)
สื่อใหม่กับทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยด้านสื่อสารมวลชนหรือผู้บริโภคสื่อก็ตาม หลายคนมีความเชื่อว่าเราจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการชมโทรทัศน์และใช้สื่ออื่นๆในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มีการผสมผสานกันเป็นพหุสื่อ (multimedia) เราสามารถชมรายการโทรทัศน์ ชมภาพยนตร์ และฟังรายการวิทยุโดยผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตและจอภาพบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราสามารถโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นเราจึงกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง มีคำถามเกิดขึ้นว่าในยุคของสื่อใหม่นี้การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจะยังคงใช้ได้หรือไม่ เหลียงและเหว่ย (Leung & Wei, 2000) ได้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีคำถามว่าเหตุใดคนจึงใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเหตุผลของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐานจะเหมือนกันหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถอธิบายการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ร่วมกับทฤษฎีอื่นด้วย
ชานาฮาน และ มอร์แกน (Shanahan & Morgan, 1999) อธิบายว่า แม้ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เทคโนโลยีก็จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเนื้อหา (content) จากเทคโนโลยีเดิมเสมอ เช่น ภาพยนตร์นำเนื้อหามาจากสารคดี โทรทัศน์นำเนื้อหาที่รวบรวมมาจากรายการวิทยุ เป็นต้น มาร์แชล แม็คลูแฮน (Marshall McLuhan, 1964) กล่าวว่าสื่อใหม่ก็เปรียบเสมือนขวดใหม่ที่นำไปใส่เหล้าเก่านั่นเอง
คำถามที่เกิดขึ้นสำหรับนักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจก็คือ แรงจูงใจที่คนเราใช้ในการใช้สื่อเก่าจะยังใช้ได้สำหรับสื่อใหม่หรือไม่ นักทฤษฎีก็มีความสนใจที่จะหาคำตอบว่าสื่อใหม่จะเปลี่ยนแปลงสารและประสบการณ์ที่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ การเข้าถึงเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และยังได้ขยายศักยภาพของเราในการเก็บรวบรวมความบันเทิงและข้อมูลต่างๆ นักวิจัยด้านสื่อจึงต้องการความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าคนเรามีเหตุผลส่วนตัวและเหตุผลทางสังคมอะไรบ้างในการใช้สื่อใหม่
จอห์น เชอรี่ และคณะ (Sherry, Lucas, Rechtsteiner, Brooks, & Wilson, 2001) ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมในการเล่นเกมส์วิดีโอคอมพิวเตอร์ของวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เล่นกันสัปดาห์ละหลายชั่วโมง โดยการใช้ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ พบว่าการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ช่วยตอบสนองต่อแรงจูงใจของผู้เล่นในด้าน ความท้าทาย การปลุกเร้า การหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง จินตนาการ การแข่งขัน และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ประเด็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเชอรี่และคณะพบว่าวัยรุ่นมักจะเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์กับเพื่อน และมองเห็นว่าการเล่นเกมส์เป็นโอกาสที่ทำให้พวกเขาได้รวมกลุ่มและติดต่อกับเพื่อนฝูง ผู้วิจัยจึงสรุปว่าแม้สื่อแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน แต่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจก็สามารถช่วยอธิบายแรงจูงใจที่ทำให้เล่นเกมส์ได้
ปาปาคาริชชี และรูบิน (Papacharissi & Rubin, 2000) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและพบว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถนำมาใช้อธิบายได้ว่าคนเรามีแรงจูงใจห้าประการในการใช้อินเทอร์เน็ต ประการที่สำคัญที่สุด คือการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร นักวิจัยทั้งสองยังพบว่าคนที่ชอบการสื่อสารระหว่างบุคคลจะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการหาข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก ส่วนผู้ที่ไม่มั่นใจในการสื่อสารแบบเผชิญหน้ามักจะหันเข้าหาอินเทอร์เน็ตเพื่อแรงจูงใจด้านสังคม อย่างไรก็ตาม นักวิจัยทั้งสองได้สรุปว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจช่วยสร้างกรอบความคิดที่สำคัญในการศึกษาสื่อใหม่
บาบารา เคย์ และ ธอมัส จอห์นสัน (Kaye & Johnson, 2004) กล่าวว่าการเติบโตของอินเทอร์เน็ตช่วยฟื้นทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีอยู่เดิม เนื่องจากนักวิชาการทั้งหลายก้าวข้ามจากความสนใจศึกษาว่าใครใช้อินเทอร์เน็ต ไปสู่ความสนใจว่าคนใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างไร โรเบิร์ต ลาโรส และ แมธธิว อีสติน (LaRose & Eastin, 2004) กล่าวว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถช่วยอธิบายการใช้อินเทอร์เน็ตได้ แต่ทฤษฎีนี้ก็สามารถขยายการวิเคราะห์ไปได้อีกโดยเพิ่มเติมตัวแปรต่างๆ เช่น ผลลัพธ์จากการกระทำที่คาดหวัง (expected activity outcomes) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ประชาชนคาดว่าจะได้รับจากสื่อ LaRose & Eastin พบว่าคนเรามีความคาดหลังว่าจะได้อะไรต่างๆมากมายจากการใช้อินเทอร์เน็ต ผลลัพธ์ด้านสังคม (social outcomes) ได้แก่สถานภาพและเอกลักษณ์ทางสังคม LaRose & Eastin กล่าวว่าคนเราสามารถยกระดับสถานะทางสังคมได้โดยการแสวงหาผู้อื่นๆที่มีความคิดเช่นเดียวกับตนและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านอินเทอร์เน็ต “อินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นเครื่องมือในการค้นหาและทดลองตัวตนอีกภาคหนึ่งของเราเอง” (หน้า 373)
จอห์น ดิมมิค ยาน เช็ง และ ซวน ลี (Dimmick, Chen, & Li, 2004) มีข้อสังเกตว่า แม้อินเทอร์เน็ตจะจัดว่าเป็นสื่อที่ค่อนข้างใหม่ แต่อินเทอร์เน็ตก็มีคุณสมบัติที่ซ้ำซ้อนกับสื่อเก่าถ้าพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ประชาชนก็ค้นหาข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ทำกับสื่อดั้งเดิม ซึ่งการศึกษาของ Dimmick และคณะเป็นข้อยืนยันได้ว่า ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ยังสามารถใช้ได้ดีกับสื่อใหม่
ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยด้านสื่อสารมวลชนหรือผู้บริโภคสื่อก็ตาม หลายคนมีความเชื่อว่าเราจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการชมโทรทัศน์และใช้สื่ออื่นๆในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มีการผสมผสานกันเป็นพหุสื่อ (multimedia) เราสามารถชมรายการโทรทัศน์ ชมภาพยนตร์ และฟังรายการวิทยุโดยผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตและจอภาพบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราสามารถโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นเราจึงกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง มีคำถามเกิดขึ้นว่าในยุคของสื่อใหม่นี้การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจะยังคงใช้ได้หรือไม่ เหลียงและเหว่ย (Leung & Wei, 2000) ได้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีคำถามว่าเหตุใดคนจึงใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเหตุผลของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐานจะเหมือนกันหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถอธิบายการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ร่วมกับทฤษฎีอื่นด้วย
ชานาฮาน และ มอร์แกน (Shanahan & Morgan, 1999) อธิบายว่า แม้ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เทคโนโลยีก็จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเนื้อหา (content) จากเทคโนโลยีเดิมเสมอ เช่น ภาพยนตร์นำเนื้อหามาจากสารคดี โทรทัศน์นำเนื้อหาที่รวบรวมมาจากรายการวิทยุ เป็นต้น มาร์แชล แม็คลูแฮน (Marshall McLuhan, 1964) กล่าวว่าสื่อใหม่ก็เปรียบเสมือนขวดใหม่ที่นำไปใส่เหล้าเก่านั่นเอง
คำถามที่เกิดขึ้นสำหรับนักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจก็คือ แรงจูงใจที่คนเราใช้ในการใช้สื่อเก่าจะยังใช้ได้สำหรับสื่อใหม่หรือไม่ นักทฤษฎีก็มีความสนใจที่จะหาคำตอบว่าสื่อใหม่จะเปลี่ยนแปลงสารและประสบการณ์ที่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ การเข้าถึงเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และยังได้ขยายศักยภาพของเราในการเก็บรวบรวมความบันเทิงและข้อมูลต่างๆ นักวิจัยด้านสื่อจึงต้องการความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าคนเรามีเหตุผลส่วนตัวและเหตุผลทางสังคมอะไรบ้างในการใช้สื่อใหม่
จอห์น เชอรี่ และคณะ (Sherry, Lucas, Rechtsteiner, Brooks, & Wilson, 2001) ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมในการเล่นเกมส์วิดีโอคอมพิวเตอร์ของวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เล่นกันสัปดาห์ละหลายชั่วโมง โดยการใช้ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ พบว่าการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ช่วยตอบสนองต่อแรงจูงใจของผู้เล่นในด้าน ความท้าทาย การปลุกเร้า การหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง จินตนาการ การแข่งขัน และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ประเด็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเชอรี่และคณะพบว่าวัยรุ่นมักจะเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์กับเพื่อน และมองเห็นว่าการเล่นเกมส์เป็นโอกาสที่ทำให้พวกเขาได้รวมกลุ่มและติดต่อกับเพื่อนฝูง ผู้วิจัยจึงสรุปว่าแม้สื่อแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน แต่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจก็สามารถช่วยอธิบายแรงจูงใจที่ทำให้เล่นเกมส์ได้
ปาปาคาริชชี และรูบิน (Papacharissi & Rubin, 2000) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและพบว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถนำมาใช้อธิบายได้ว่าคนเรามีแรงจูงใจห้าประการในการใช้อินเทอร์เน็ต ประการที่สำคัญที่สุด คือการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร นักวิจัยทั้งสองยังพบว่าคนที่ชอบการสื่อสารระหว่างบุคคลจะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการหาข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก ส่วนผู้ที่ไม่มั่นใจในการสื่อสารแบบเผชิญหน้ามักจะหันเข้าหาอินเทอร์เน็ตเพื่อแรงจูงใจด้านสังคม อย่างไรก็ตาม นักวิจัยทั้งสองได้สรุปว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจช่วยสร้างกรอบความคิดที่สำคัญในการศึกษาสื่อใหม่
บาบารา เคย์ และ ธอมัส จอห์นสัน (Kaye & Johnson, 2004) กล่าวว่าการเติบโตของอินเทอร์เน็ตช่วยฟื้นทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีอยู่เดิม เนื่องจากนักวิชาการทั้งหลายก้าวข้ามจากความสนใจศึกษาว่าใครใช้อินเทอร์เน็ต ไปสู่ความสนใจว่าคนใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างไร โรเบิร์ต ลาโรส และ แมธธิว อีสติน (LaRose & Eastin, 2004) กล่าวว่าทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสามารถช่วยอธิบายการใช้อินเทอร์เน็ตได้ แต่ทฤษฎีนี้ก็สามารถขยายการวิเคราะห์ไปได้อีกโดยเพิ่มเติมตัวแปรต่างๆ เช่น ผลลัพธ์จากการกระทำที่คาดหวัง (expected activity outcomes) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ประชาชนคาดว่าจะได้รับจากสื่อ LaRose & Eastin พบว่าคนเรามีความคาดหลังว่าจะได้อะไรต่างๆมากมายจากการใช้อินเทอร์เน็ต ผลลัพธ์ด้านสังคม (social outcomes) ได้แก่สถานภาพและเอกลักษณ์ทางสังคม LaRose & Eastin กล่าวว่าคนเราสามารถยกระดับสถานะทางสังคมได้โดยการแสวงหาผู้อื่นๆที่มีความคิดเช่นเดียวกับตนและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านอินเทอร์เน็ต “อินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นเครื่องมือในการค้นหาและทดลองตัวตนอีกภาคหนึ่งของเราเอง” (หน้า 373)
จอห์น ดิมมิค ยาน เช็ง และ ซวน ลี (Dimmick, Chen, & Li, 2004) มีข้อสังเกตว่า แม้อินเทอร์เน็ตจะจัดว่าเป็นสื่อที่ค่อนข้างใหม่ แต่อินเทอร์เน็ตก็มีคุณสมบัติที่ซ้ำซ้อนกับสื่อเก่าถ้าพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ประชาชนก็ค้นหาข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ทำกับสื่อดั้งเดิม ซึ่งการศึกษาของ Dimmick และคณะเป็นข้อยืนยันได้ว่า ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ยังสามารถใช้ได้ดีกับสื่อใหม่
Uses and Gratifications Theory (5)
แนวคิดเรื่องบทบาทของผู้รับสารเชิงรุก
ทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของข้อสันนิษฐานที่ว่าผู้รับสารมีบทบาทเชิงรุก ซึ่งมาร์ค เลวี และ สเวน วินดาล (Mark Levy & Sven Windahl, 1985) กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ว่า
“ตามความเข้าใจของนักวิจัยด้านความพึงพอใจจากการใช้สื่อนั้น คำว่า “ผู้รับสารมีบทบาทเชิงรุก” (active audience) นั้น หมายถึงการที่ผู้รับสารมีพฤติกรรมที่เป็นอิสระและเป็นผู้เลือกในกระบวนการสื่อสาร กล่าวโดยสรุปก็คือ การใช้สื่อถูกชักจูงโดยความต้องการและเป้าหมายของผู้ใช้สื่อนั่นเอง และการมีส่วนร่วมอย่างเชิงรุกในกระบวนการสื่อสารอาจช่วยสนับสนุน จำกัด หรือไม่ก็มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปิดรับสื่อนั้น แนวคิดปัจจุบันกล่าวด้วยว่ากิจกรรมของผู้รับสารสามารถสร้างกรอบความคิดได้เป็นการสร้างตัวแปร โดยที่ผู้รับสารเป็นผู้กระทำกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบในหลากหลายระดับ” (หน้า 10)
Blumler (1979) ได้ให้แนวคิดหลายประการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผู้รับสารสามารถมีบทบาทได้ รวมทั้ง การใช้ประโยชน์ (utility) ความตั้งใจ (intentionality) การเลือกสรร (selectivity) และการไม่ยอมรับอิทธิพลจากสื่อ (imperviousness to influence)
ตัวอย่างกิจกรรมด้านการใช้ประโยชน์ หมายถึง การที่ประชาชนรับฟังรายการวิทยุในรถยนตร์เพื่อหาข้อมูลทางการจราจร ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาซื้อสินค้าต่างๆ หรืออ่านนิตยสารเพื่อค้นหาแนวโน้มการแต่งการตามแฟชั่นที่ทันสมัย กิจกรรมด้านความตั้งใจ เกิดขึ้นเมื่อคนเรามีแรงจูงใจล่วงหน้าในการตัดสินใจที่จะบริโภคเนื้อหาของสื่อ เช่น เมื่อต้องการได้รับความบันเทิงก็เปิดชมรายการตลก เมื่อต้องการความรู้เรื่องข่าวสารเชิงลึก ก็จะเปิดชมรายการวิเคราะห์ข่าว กิจกรรมด้านการเลือกสรร หมายถึงการใช้สื่อของคนเราสามารถสะท้อนถึงความสนใจและความชอบส่วนตัวได้ คนที่ชอบดนตรีแจ๊ซก็จะเปิดสถานีวิทยุที่นำเสนอดนตรีแจ๊ซ ถ้าเป็นคนที่ชอบใช้อินเทอร์เน็ตก็อาจจะชอบอ่านนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นคนที่สนใจข่าวสารและความเป็นไปของดารา ก็มักจะรับนิตยสารประเภทดารา ประการสุดท้าย การไม่ยอมรับอิทธิพลจากสื่อ หมายถึงการที่ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้สร้างความหมายของตนจากเนื้อหาสื่อ และความหมายนั้นก็ส่งอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของผู้รับสาร เช่น การที่คนตัดสินใจซื้อสินค้าโดยตัดสินจากคุณภาพและคุณค่า มากกว่าตัดสินจากโฆษณา หรือการที่คนเราชอบดูภาพยนตร์ที่มีความรุนแรง แต่ไม่มีพฤติกรรมใดๆที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวรุนแรง
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อได้จำแนกกิจกรรม (activities) และการกระทำเชิงรุก (activeness) เพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนถึงระดับของกิจกรรมของผู้รับสาร แม้ว่าคำทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ activities หมายถึงการกระทำของผู้บริโภคสื่อ เช่น การที่คนเลือกอ่านข่าวออนไลน์แทนที่จะอ่านจากหนังสือพิมพ์ ส่วนการกระทำเชิงรุก จะเน้นไปที่ความมีอิสระและอำนาจในสถานการณ์สื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจให้ความสนใจ
ทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของข้อสันนิษฐานที่ว่าผู้รับสารมีบทบาทเชิงรุก ซึ่งมาร์ค เลวี และ สเวน วินดาล (Mark Levy & Sven Windahl, 1985) กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ว่า
“ตามความเข้าใจของนักวิจัยด้านความพึงพอใจจากการใช้สื่อนั้น คำว่า “ผู้รับสารมีบทบาทเชิงรุก” (active audience) นั้น หมายถึงการที่ผู้รับสารมีพฤติกรรมที่เป็นอิสระและเป็นผู้เลือกในกระบวนการสื่อสาร กล่าวโดยสรุปก็คือ การใช้สื่อถูกชักจูงโดยความต้องการและเป้าหมายของผู้ใช้สื่อนั่นเอง และการมีส่วนร่วมอย่างเชิงรุกในกระบวนการสื่อสารอาจช่วยสนับสนุน จำกัด หรือไม่ก็มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปิดรับสื่อนั้น แนวคิดปัจจุบันกล่าวด้วยว่ากิจกรรมของผู้รับสารสามารถสร้างกรอบความคิดได้เป็นการสร้างตัวแปร โดยที่ผู้รับสารเป็นผู้กระทำกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบในหลากหลายระดับ” (หน้า 10)
Blumler (1979) ได้ให้แนวคิดหลายประการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผู้รับสารสามารถมีบทบาทได้ รวมทั้ง การใช้ประโยชน์ (utility) ความตั้งใจ (intentionality) การเลือกสรร (selectivity) และการไม่ยอมรับอิทธิพลจากสื่อ (imperviousness to influence)
ตัวอย่างกิจกรรมด้านการใช้ประโยชน์ หมายถึง การที่ประชาชนรับฟังรายการวิทยุในรถยนตร์เพื่อหาข้อมูลทางการจราจร ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาซื้อสินค้าต่างๆ หรืออ่านนิตยสารเพื่อค้นหาแนวโน้มการแต่งการตามแฟชั่นที่ทันสมัย กิจกรรมด้านความตั้งใจ เกิดขึ้นเมื่อคนเรามีแรงจูงใจล่วงหน้าในการตัดสินใจที่จะบริโภคเนื้อหาของสื่อ เช่น เมื่อต้องการได้รับความบันเทิงก็เปิดชมรายการตลก เมื่อต้องการความรู้เรื่องข่าวสารเชิงลึก ก็จะเปิดชมรายการวิเคราะห์ข่าว กิจกรรมด้านการเลือกสรร หมายถึงการใช้สื่อของคนเราสามารถสะท้อนถึงความสนใจและความชอบส่วนตัวได้ คนที่ชอบดนตรีแจ๊ซก็จะเปิดสถานีวิทยุที่นำเสนอดนตรีแจ๊ซ ถ้าเป็นคนที่ชอบใช้อินเทอร์เน็ตก็อาจจะชอบอ่านนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นคนที่สนใจข่าวสารและความเป็นไปของดารา ก็มักจะรับนิตยสารประเภทดารา ประการสุดท้าย การไม่ยอมรับอิทธิพลจากสื่อ หมายถึงการที่ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้สร้างความหมายของตนจากเนื้อหาสื่อ และความหมายนั้นก็ส่งอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของผู้รับสาร เช่น การที่คนตัดสินใจซื้อสินค้าโดยตัดสินจากคุณภาพและคุณค่า มากกว่าตัดสินจากโฆษณา หรือการที่คนเราชอบดูภาพยนตร์ที่มีความรุนแรง แต่ไม่มีพฤติกรรมใดๆที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวรุนแรง
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อได้จำแนกกิจกรรม (activities) และการกระทำเชิงรุก (activeness) เพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนถึงระดับของกิจกรรมของผู้รับสาร แม้ว่าคำทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ activities หมายถึงการกระทำของผู้บริโภคสื่อ เช่น การที่คนเลือกอ่านข่าวออนไลน์แทนที่จะอ่านจากหนังสือพิมพ์ ส่วนการกระทำเชิงรุก จะเน้นไปที่ความมีอิสระและอำนาจในสถานการณ์สื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจให้ความสนใจ
Uses and Gratifications Theory (4)
ข้อสันนิษฐานของทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจได้กำหนดกรอบเพื่อความเข้าใจว่าเมื่อไรผู้บริโภคสื่อจะมีบทบาทเชิงรุก และจะมีบทบาทเชิงรุกได้อย่างไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไปทำให้การใช้สื่อของบุคคลนั้นๆมากขึ้นหรือลดลง ข้อสันนิษฐานของทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจหลายๆข้อได้มีการอธิบายอย่างแจ่มชัดโดยผู้ก่อตั้งแนวคิดนั่นเอง (Katz, Blumler & Gurevitch, 1974) ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ได้แก่
· ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือก และการเลือกใช้สื่อของพวกเขานั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่พวกเขาต้องการ
· ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือกในการเชื่อมโยงความพึงพอใจที่ต้องการกับการเลือกใช้สื่อแต่ละชนิด
· สื่อเป็นคู่แข่งกับแหล่งอื่นๆที่ผู้ฟัง/ผู้ชมจะเลือกใช้เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตน
· บุคคลมีความตระหนักรู้ถึงการใช้สื่อ ความสนใจ และแรงจูงใจ อย่างเพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอด
ภาพที่ถูกต้องตรงประเด็นในเรื่องการใช้สื่อของตนแก่นักวิจัยได้
· การตัดสินคุณค่าของเนื้อหาสื่อเป็นการประเมินโดยผู้ชม/ผู้ฟังเท่านั้น
ข้อสันนิษฐานข้อแรกเกี่ยวกับการเป็นผู้ใช้สื่อเชิงรุกและการใช้ตามเป้าหมายของผู้ฟัง/ผู้ชมนั้นเป็นสิ่งที่ตรงไปตรงมา เนื่องจากผู้ฟัง/ผู้ชมแต่ละคนมีความสามารถในการใช้สื่อในระดับที่แตกต่างกัน ผู้ฟัง/ผู้ชมอาจใช้สื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของตนได้ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า McQuail และคณะ (1972) ได้ระบุถึงวิธีการหลายอย่างที่จะจัดกลุ่มความต้องการและความพึงพอใจของผู้ฟัง/ผู้ชม อันได้แก่ เพื่อการหลีกหนีจากโลกส่วนตัว เพื่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เพื่อการสร้างเอกลักษณ์ส่วนตัว และเพื่อการติดตามเฝ้าดูสังคม (ดูตารางที่ 1) แสดงให้เห็นว่าผู้ฟัง/ผู้ชม/ผู้ใช้สื่อสามารถเลือกสื่อแต่ละประเภทที่มีอยู่อย่างหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของตนในรูปแบบที่แตกต่างกัน
ข้อสันนิษฐานที่สอง ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือกในการเชื่อมโยงความพึงพอใจที่ต้องการกับการเลือกใช้สื่อแต่ละชนิด เนื่องบุคคลเป็นตัวกระทำดังนั้นจึงมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม เช่น ผู้ชมเลือกชมรายการตลกเมื่อรู้สึกว่าต้องการที่จะหัวเราะ เลือกชมรายการข่าวเมื่อต้องการได้รับการบอกกล่าวข้อมูล การเลือกเหล่านี้ไม่มีใครบอกให้ทำ แต่ผู้ชมเป็นผู้กำหนดเอง การเลือกอาจเกิดจากเหตุผลอื่นก็ได้ เช่น ต้องชมรายการข่าวเพราะติดใจในบทบาทลีลาของผู้ประกาศข่าวก็ได้ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ชมเป็นผู้มีอำนาจอย่างมากในกระบวนการสื่อสาร
ข้อสันนิษฐานที่สาม สื่อก็เป็นคู่แข่งกับแหล่งอื่นๆในการตอบสนองความพึงพอใจของผู้ชม/ผู้ฟัง หมายความว่า ในสังคมอันกว้างใหญ่นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อและผู้ชม/ผู้ฟังอยู่ภายใต้อิทธิพลของแต่ละสังคม เช่น ในการนัดพบกันระหว่างหญิงชายนั้น ครั้งแรกๆมักจะพากันไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเช่าวีดิทัศน์มาชมกันที่บ้าน ในยามว่างพฤติกรรมของคนบางคนก็ชองพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนฝูง ในขณะที่คนบางคนชอบดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ในยามว่างมากกว่า คนที่ไม่ค่อยเปิดรับสื่อในยามปกติอาจกลับกลายเป็นผู้บริโภคสื่ออย่างหนักในช่วงที่มีการเลือกตั้ง เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งก็ได้
ข้อสันนิษฐานที่สี่ มีความเกี่ยวพันกับระเบียบวิธีวิจัยซึ่งโยงไปถึงความสามารถของนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้องจากผู้บริโภคสื่อ การที่เรายอมรับว่าบุคคลมีความตระหนักรู้ในตนเองในการใช้สื่อ ดังนั้นความสนใจและแรงจูงใจของผู้ชม/ผู้ฟังที่มีเพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอดภาพที่ถูกต้องได้นั้น เป็นการยืนยันความเชื่อในเรื่อง “ผู้ใช้สื่อเชิงรุก” (active audience) และยังสื่อให้เห็นว่าบุคคลตระหนักรู้ในกิจกรรมนั้นๆ ในยุคแรกๆของการวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจนั้น มีการใช้คำถามเชิงคุณภาพเพื่อถามผู้ชม/ผู้ฟังถึงเหตุผลในการใช้สื่อ แนวคิดในการใช้เทคนิคเพื่อการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตปฏิกิริยาของกลุ่มตัวอย่างนี้ เกิดจากการที่มองเห็นว่าผู้ชม/ผู้ฟัง/ผู้ใช้สื่อย่อมเป็นผู้ที่สามารถอธิบายได้ดีที่สุดว่าพวกเขาทำอะไรและด้วยเหตุผลอะไร ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เมื่อทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมีวิวัฒนาการไป ระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวข้องก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย นักวิจัยเริ่มที่จะละทิ้งแนวทางการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อหันไปสู่การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ทั้งๆที่ในการวิจัยเชิงปริมาณก็ได้แนวคำถามมาจากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากการวิจัยเชิงคุณภาพนั่นเอง
ข้อสันนิษฐานที่ห้า กล่าวว่านักวิจัยควรให้คุณค่าในการตัดสินคุณค่าของเนื้อหาโดยเชื่อมโยงความต้องการของผู้ฟัง/ผู้ชม/ผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อหรือต่อเนื้อหาของสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง เรย์เบิร์นและพาล์มกรีน (J.D. Rayburn and Philip Palmgreen, 1984) กล่าวว่า “คนเราอาจอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเพราะเป็นฉบับเดียวที่เขามีอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้อ่านจะมีความพึงพอใจต่อการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอย่างเต็มที่ ในความเป็นจริงนั้น ผู้อ่านอาจพร้อมที่จะเลิกรับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นในทันทีที่มีตัวเลือกอื่นก็ได้”
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจได้กำหนดกรอบเพื่อความเข้าใจว่าเมื่อไรผู้บริโภคสื่อจะมีบทบาทเชิงรุก และจะมีบทบาทเชิงรุกได้อย่างไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไปทำให้การใช้สื่อของบุคคลนั้นๆมากขึ้นหรือลดลง ข้อสันนิษฐานของทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจหลายๆข้อได้มีการอธิบายอย่างแจ่มชัดโดยผู้ก่อตั้งแนวคิดนั่นเอง (Katz, Blumler & Gurevitch, 1974) ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ได้แก่
· ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือก และการเลือกใช้สื่อของพวกเขานั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่พวกเขาต้องการ
· ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือกในการเชื่อมโยงความพึงพอใจที่ต้องการกับการเลือกใช้สื่อแต่ละชนิด
· สื่อเป็นคู่แข่งกับแหล่งอื่นๆที่ผู้ฟัง/ผู้ชมจะเลือกใช้เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตน
· บุคคลมีความตระหนักรู้ถึงการใช้สื่อ ความสนใจ และแรงจูงใจ อย่างเพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอด
ภาพที่ถูกต้องตรงประเด็นในเรื่องการใช้สื่อของตนแก่นักวิจัยได้
· การตัดสินคุณค่าของเนื้อหาสื่อเป็นการประเมินโดยผู้ชม/ผู้ฟังเท่านั้น
ข้อสันนิษฐานข้อแรกเกี่ยวกับการเป็นผู้ใช้สื่อเชิงรุกและการใช้ตามเป้าหมายของผู้ฟัง/ผู้ชมนั้นเป็นสิ่งที่ตรงไปตรงมา เนื่องจากผู้ฟัง/ผู้ชมแต่ละคนมีความสามารถในการใช้สื่อในระดับที่แตกต่างกัน ผู้ฟัง/ผู้ชมอาจใช้สื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของตนได้ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า McQuail และคณะ (1972) ได้ระบุถึงวิธีการหลายอย่างที่จะจัดกลุ่มความต้องการและความพึงพอใจของผู้ฟัง/ผู้ชม อันได้แก่ เพื่อการหลีกหนีจากโลกส่วนตัว เพื่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เพื่อการสร้างเอกลักษณ์ส่วนตัว และเพื่อการติดตามเฝ้าดูสังคม (ดูตารางที่ 1) แสดงให้เห็นว่าผู้ฟัง/ผู้ชม/ผู้ใช้สื่อสามารถเลือกสื่อแต่ละประเภทที่มีอยู่อย่างหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของตนในรูปแบบที่แตกต่างกัน
ข้อสันนิษฐานที่สอง ผู้ฟัง/ผู้ชมเป็นผู้เลือกในการเชื่อมโยงความพึงพอใจที่ต้องการกับการเลือกใช้สื่อแต่ละชนิด เนื่องบุคคลเป็นตัวกระทำดังนั้นจึงมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม เช่น ผู้ชมเลือกชมรายการตลกเมื่อรู้สึกว่าต้องการที่จะหัวเราะ เลือกชมรายการข่าวเมื่อต้องการได้รับการบอกกล่าวข้อมูล การเลือกเหล่านี้ไม่มีใครบอกให้ทำ แต่ผู้ชมเป็นผู้กำหนดเอง การเลือกอาจเกิดจากเหตุผลอื่นก็ได้ เช่น ต้องชมรายการข่าวเพราะติดใจในบทบาทลีลาของผู้ประกาศข่าวก็ได้ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ชมเป็นผู้มีอำนาจอย่างมากในกระบวนการสื่อสาร
ข้อสันนิษฐานที่สาม สื่อก็เป็นคู่แข่งกับแหล่งอื่นๆในการตอบสนองความพึงพอใจของผู้ชม/ผู้ฟัง หมายความว่า ในสังคมอันกว้างใหญ่นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อและผู้ชม/ผู้ฟังอยู่ภายใต้อิทธิพลของแต่ละสังคม เช่น ในการนัดพบกันระหว่างหญิงชายนั้น ครั้งแรกๆมักจะพากันไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเช่าวีดิทัศน์มาชมกันที่บ้าน ในยามว่างพฤติกรรมของคนบางคนก็ชองพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนฝูง ในขณะที่คนบางคนชอบดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ในยามว่างมากกว่า คนที่ไม่ค่อยเปิดรับสื่อในยามปกติอาจกลับกลายเป็นผู้บริโภคสื่ออย่างหนักในช่วงที่มีการเลือกตั้ง เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งก็ได้
ข้อสันนิษฐานที่สี่ มีความเกี่ยวพันกับระเบียบวิธีวิจัยซึ่งโยงไปถึงความสามารถของนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้องจากผู้บริโภคสื่อ การที่เรายอมรับว่าบุคคลมีความตระหนักรู้ในตนเองในการใช้สื่อ ดังนั้นความสนใจและแรงจูงใจของผู้ชม/ผู้ฟังที่มีเพียงพอที่จะสามารถถ่ายทอดภาพที่ถูกต้องได้นั้น เป็นการยืนยันความเชื่อในเรื่อง “ผู้ใช้สื่อเชิงรุก” (active audience) และยังสื่อให้เห็นว่าบุคคลตระหนักรู้ในกิจกรรมนั้นๆ ในยุคแรกๆของการวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจนั้น มีการใช้คำถามเชิงคุณภาพเพื่อถามผู้ชม/ผู้ฟังถึงเหตุผลในการใช้สื่อ แนวคิดในการใช้เทคนิคเพื่อการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตปฏิกิริยาของกลุ่มตัวอย่างนี้ เกิดจากการที่มองเห็นว่าผู้ชม/ผู้ฟัง/ผู้ใช้สื่อย่อมเป็นผู้ที่สามารถอธิบายได้ดีที่สุดว่าพวกเขาทำอะไรและด้วยเหตุผลอะไร ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เมื่อทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมีวิวัฒนาการไป ระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวข้องก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย นักวิจัยเริ่มที่จะละทิ้งแนวทางการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อหันไปสู่การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ทั้งๆที่ในการวิจัยเชิงปริมาณก็ได้แนวคำถามมาจากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากการวิจัยเชิงคุณภาพนั่นเอง
ข้อสันนิษฐานที่ห้า กล่าวว่านักวิจัยควรให้คุณค่าในการตัดสินคุณค่าของเนื้อหาโดยเชื่อมโยงความต้องการของผู้ฟัง/ผู้ชม/ผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อหรือต่อเนื้อหาของสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง เรย์เบิร์นและพาล์มกรีน (J.D. Rayburn and Philip Palmgreen, 1984) กล่าวว่า “คนเราอาจอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเพราะเป็นฉบับเดียวที่เขามีอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้อ่านจะมีความพึงพอใจต่อการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอย่างเต็มที่ ในความเป็นจริงนั้น ผู้อ่านอาจพร้อมที่จะเลิกรับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นในทันทีที่มีตัวเลือกอื่นก็ได้”
Uses and Gratifications Theory (3)
ที่มาและวิวัฒนาการการศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
เมื่อย้อนเวลากลับไปในอดีต การศึกษาและวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ นั้น สามารถอธิบายได้เป็นสามช่วงเวลา ได้แก่
ขั้นตอนในยุคต้นของการศึกษา เฮอร์ต้า เฮอซ็อก (Herta Herzog, 1944) ได้เป็นผู้เริ่มต้นการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ เธอได้จำแนกเหตุผลว่าทำไมคนเราจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกันในการใช้สื่อ เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ Herzog ได้ศึกษาถึงความต้องการของผู้ฟังและได้มีส่วนในการริเริ่มทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratifications) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา Herzog ต้องการรู้ว่าทำไมผู้หญิงจำนวนมากจึงชอบฟังรายการละครวิทยุ เธอจึงทำการสัมภาษณ์แฟนรายการจำนวนหนึ่งและได้จำแนกความพึงพอใจที่ได้รับออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ชอบฟังรายการละครเพราะเป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์จากการที่ได้รับฟังปัญหาของผู้อื่น กลุ่มที่ 2 ผู้ฟังได้รับความพึงพอใจจากการรับฟังประสบการณ์ของผู้อื่น และ
กลุ่มที่ 3 ผู้ฟังสามารถเรียนรู้จากรายการที่ตนได้รับฟัง เพราะถ้าเหตุการณ์ในละครเกิดขึ้นกับตนวันใด จะได้รู้ว่าควรจะรับมืออย่างไรดี
การศึกษาของ Herzog ในเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทฤษฎี Uses and Gratifications เพราะเธอเป็นนักวิจัยคนแรกที่ตีพิมพ์ผลงานที่อธิบายถึงผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้สื่อ
ขั้นตอนที่สองในการวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ เริ่มต้นขึ้นเมื่อนักวิจัยได้นำเอาเหตุผลทั้งหลายที่คนใช้สื่อมาจัดกลุ่ม (ดูตารางที่ 1) ตัวอย่างเช่น อลัน รูบิน (Alan Rubin, 1981) ได้พบว่าแรงจูงใจในการใช้สื่อโทรทัศน์นั้น สามารถแบ่งได้เป็นหมวดหมู่ดังนี้ : เพื่อฆ่าเวลา เพื่อใช้เป็นเพื่อน เพื่อความตื่นเต้น เพื่อหลีกหนีจากโลกปัจจุบัน เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อความผ่อนคลาย เพื่อหาข้อมูล และเพื่อการเรียนรู้เนื้อหาของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักวิจัยคนอื่นๆ อันได้แก่ แม็คเควล บลูมเลอร์ และบราวน์ (McQuail, Blumler & Brown, 1972) ได้นำเสนอว่า การใช้สื่อของคนเรานั้นสามารถจัดกลุ่มพื้นฐานได้สี่กลุ่ม อันได้แก่ เพื่อการหลีกหนีจากโลกส่วนตัว (diversion) เพื่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคล (personal relationship)เพื่อการสร้างเอกลักษณ์ส่วนตัว (personal identity) และเพื่อการติดตามเฝ้าดูสังคม (surveillance)
Blumler และ McQuail (1969) ได้เริ่มจัดกลุ่มเหตุผลของการที่ผู้ชมใช้ในการรับชมรายการเกี่ยวกับการเมือง พวกเขาพบว่าผู้ชมนั้นมีแรงจูงใจที่ได้ใช้เป็น้หตุผลในการรับชมรายการ งานชิ้นนี้ของ Blumler และ McQuail ได้ก่อให้เกิดรากฐานสำคัญสำหรับนักวิจัยในเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในเวลาต่อมา McQuail, Blumler & Brown (1972) และ Katz, Gurevitch, และ Hadassah Haas (1973) ได้เริ่มชี้ให้เห็นถึงการใช้สื่อมวลชนของบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจงขึ้น กลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้พบว่าเหตุผลของการใช้สื่อของคนนั้นเกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะเกี่ยวข้องและความต้องการที่จะไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้สามารถจำแนกกลุ่มได้ออกเป็นหลายกลุ่ม รวมถึงการที่คนต้องการแสวงหาข้อมูลหรือความรู้ ความเพลิดเพลิน สถานภาพ เสริมสร้างความสัมพันธ์และหลีกหนีจากสิ่งอื่นๆ ซึ่งไรอัน แกรนท์ (Ryan Grant) ก็เคยพยายามศึกษาถึงความต้องการของคนในสองลักษณะพร้อมๆกัน คือความต้องการเสริมสร้างมิตรภาพ และความต้องการหลีกหนีจากบางสิ่งบางอย่าง
ขั้นตอนที่สามซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนปัจจุบันนั้น นักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อได้ให้ความสนใจในการเชื่อมโยงเหตุผลของการใช้สื่อเข้ากับตัวแปรต่างๆ เช่น ความต้องการ เป้าหมาย ผลประโยชน์ที่ได้รับ ผลกระทบจากสื่อ และปัจจัยส่วนบุคคล (Faber, 2000; Green & Kremar, 2005; Haridakis & Rubin, 2005; Rubin, 1994) เนื่องจากนักวิจัยเหล่านี้พยายามทำให้ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ได้มากขึ้น อลัน รูบิน และ แมรี สเต็ป (Alan Rubin & Mar Step, 2000) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจ การดึงดูดระหว่างบุคคล และปฏิสัมพันธ์แบบที่ผู้ฟัง/ผู้ชมรู้สึกว่ารู้จักคุ้นเคยกับบุคคลในสื่อ (parasocial interaction) พวกเขาพยายามหาเหตุผลว่าทำไมคนจึงชองเปิดฟังรายการพูดคุยทางวิทยุและทำไมจึงมีความเชื่อถือในตัวผู้จัดรายการ พวกเขาพบว่า แรงจูงใจเพื่อความบันเทิงอันน่าตื่นเต้น และการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร มีปฏิสัมพันธ์กับการรับรู้ของผู้ฟัง/ผู้ชมผ่านความสัมพันธ์แบบ parasocial นั่นเอง
ช่องว่างระหว่างการวิจัยที่เกิดขึ้น เช่น การวิจัยของ Herzog เรื่องการใช้สื่อของผู้ฟัง และแนวคิดที่หยั่งรากนานในฐานะที่เป็นทฤษฎีที่สำคัญและมีคุณค่าต่อจากนั้นอีก 30 ปี เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ที่มองว่าสื่อนั้นมีอิทธิพลอยู่จำกัด (limited effects paradigm) และทำให้คนหันไปสนใจกับสิ่งที่ไปจำกัดอิทธิพลของสื่อ อันได้แก่ สื่อ สาร หรือผู้ชม/ผู้ฟัง แทนที่จะไปสนใจว่าผู้ชม/ผู้ฟังนั้นใช้สื่อกันอย่างไร งานในยุคบุกเบิกของ Katz, Blumler และ Gurevitch จึงช่วยเปลี่ยนแปลงความสนใจในการศึกษาเรื่องดังกล่าว
การที่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจและข้อสันนิษฐานของทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับนั้น มีสาเหตุมาจาก 1) นักวิจัยเรื่องอิทธิพลอันจำกัดของสื่อเริ่มที่จะไม่มีสิ่งที่จะให้ศึกษา เมื่อตัวแปรที่มาจำกัดอิทธิพลของสื่อเป็นเรื่องเก่าๆ จึงมองหาสิ่งที่สามารถมาอธิบายกระบวนการสื่อสารต่อไป 2) แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลอันจำกัดของสื่อไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดในวงการโฆษณาจึงมีการลงทุนกันอย่างมหาศาลเพื่อใช้สื่อ และเหตุใดคนจึงใช้เวลาจำนวนมากในการบริโภคสื่อ 3) มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดคนบางคนจึงตัดสินใจว่าต้องการผลกระทบอะไรจากสื่อและตั้งใจที่จะยอมรับผลกระทบนั้นๆ
จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งสามประการ นักวิจัยต่างๆจึงมีคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลอันจำกัดของสื่อ ในที่สุดนักวิจัยที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกระบวนทัศน์กระแสหลักจึงถูกกีดกันออกจากแวดวงวิจัย ตัวอย่างเช่นในการวิจัยกระแสหลักนั้น นักจิตวิทยาซึ่งพยายามอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการชมรายการที่มีความรุนแรงกับพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นตามมา มักจะเน้นความสนใจไปที่ผลลัพธ์ทางลบที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผลกระทบในทางบวกของสื่อกลับถูกละเลย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสนใจในกลุ่มนักวิจัยซึ่งทำงานภายใต้กระบวนทัศน์อิทธิพลอันจำกัดของสื่อ ความสนใจของนักวิจัยเหล่านั้นเปลี่ยนจาก “สื่อทำอะไรกับคน” (what media do to people) ไปเป็น “คนทำอะไรกับสื่อ” (things people do with media) เนื่องจากผู้ชม/ผู้ฟังต้องการให้เกิดผลเช่นนั้น หรืออย่างน้อยก็ยอมให้เกิดผลเช่นนั้น
เมื่อย้อนเวลากลับไปในอดีต การศึกษาและวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ นั้น สามารถอธิบายได้เป็นสามช่วงเวลา ได้แก่
ขั้นตอนในยุคต้นของการศึกษา เฮอร์ต้า เฮอซ็อก (Herta Herzog, 1944) ได้เป็นผู้เริ่มต้นการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ เธอได้จำแนกเหตุผลว่าทำไมคนเราจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกันในการใช้สื่อ เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ และการฟังวิทยุ Herzog ได้ศึกษาถึงความต้องการของผู้ฟังและได้มีส่วนในการริเริ่มทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratifications) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา Herzog ต้องการรู้ว่าทำไมผู้หญิงจำนวนมากจึงชอบฟังรายการละครวิทยุ เธอจึงทำการสัมภาษณ์แฟนรายการจำนวนหนึ่งและได้จำแนกความพึงพอใจที่ได้รับออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ชอบฟังรายการละครเพราะเป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์จากการที่ได้รับฟังปัญหาของผู้อื่น กลุ่มที่ 2 ผู้ฟังได้รับความพึงพอใจจากการรับฟังประสบการณ์ของผู้อื่น และ
กลุ่มที่ 3 ผู้ฟังสามารถเรียนรู้จากรายการที่ตนได้รับฟัง เพราะถ้าเหตุการณ์ในละครเกิดขึ้นกับตนวันใด จะได้รู้ว่าควรจะรับมืออย่างไรดี
การศึกษาของ Herzog ในเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทฤษฎี Uses and Gratifications เพราะเธอเป็นนักวิจัยคนแรกที่ตีพิมพ์ผลงานที่อธิบายถึงผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้สื่อ
ขั้นตอนที่สองในการวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ เริ่มต้นขึ้นเมื่อนักวิจัยได้นำเอาเหตุผลทั้งหลายที่คนใช้สื่อมาจัดกลุ่ม (ดูตารางที่ 1) ตัวอย่างเช่น อลัน รูบิน (Alan Rubin, 1981) ได้พบว่าแรงจูงใจในการใช้สื่อโทรทัศน์นั้น สามารถแบ่งได้เป็นหมวดหมู่ดังนี้ : เพื่อฆ่าเวลา เพื่อใช้เป็นเพื่อน เพื่อความตื่นเต้น เพื่อหลีกหนีจากโลกปัจจุบัน เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อความผ่อนคลาย เพื่อหาข้อมูล และเพื่อการเรียนรู้เนื้อหาของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักวิจัยคนอื่นๆ อันได้แก่ แม็คเควล บลูมเลอร์ และบราวน์ (McQuail, Blumler & Brown, 1972) ได้นำเสนอว่า การใช้สื่อของคนเรานั้นสามารถจัดกลุ่มพื้นฐานได้สี่กลุ่ม อันได้แก่ เพื่อการหลีกหนีจากโลกส่วนตัว (diversion) เพื่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคล (personal relationship)เพื่อการสร้างเอกลักษณ์ส่วนตัว (personal identity) และเพื่อการติดตามเฝ้าดูสังคม (surveillance)
Blumler และ McQuail (1969) ได้เริ่มจัดกลุ่มเหตุผลของการที่ผู้ชมใช้ในการรับชมรายการเกี่ยวกับการเมือง พวกเขาพบว่าผู้ชมนั้นมีแรงจูงใจที่ได้ใช้เป็น้หตุผลในการรับชมรายการ งานชิ้นนี้ของ Blumler และ McQuail ได้ก่อให้เกิดรากฐานสำคัญสำหรับนักวิจัยในเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในเวลาต่อมา McQuail, Blumler & Brown (1972) และ Katz, Gurevitch, และ Hadassah Haas (1973) ได้เริ่มชี้ให้เห็นถึงการใช้สื่อมวลชนของบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจงขึ้น กลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้พบว่าเหตุผลของการใช้สื่อของคนนั้นเกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะเกี่ยวข้องและความต้องการที่จะไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้สามารถจำแนกกลุ่มได้ออกเป็นหลายกลุ่ม รวมถึงการที่คนต้องการแสวงหาข้อมูลหรือความรู้ ความเพลิดเพลิน สถานภาพ เสริมสร้างความสัมพันธ์และหลีกหนีจากสิ่งอื่นๆ ซึ่งไรอัน แกรนท์ (Ryan Grant) ก็เคยพยายามศึกษาถึงความต้องการของคนในสองลักษณะพร้อมๆกัน คือความต้องการเสริมสร้างมิตรภาพ และความต้องการหลีกหนีจากบางสิ่งบางอย่าง
ขั้นตอนที่สามซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนปัจจุบันนั้น นักวิจัยด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อได้ให้ความสนใจในการเชื่อมโยงเหตุผลของการใช้สื่อเข้ากับตัวแปรต่างๆ เช่น ความต้องการ เป้าหมาย ผลประโยชน์ที่ได้รับ ผลกระทบจากสื่อ และปัจจัยส่วนบุคคล (Faber, 2000; Green & Kremar, 2005; Haridakis & Rubin, 2005; Rubin, 1994) เนื่องจากนักวิจัยเหล่านี้พยายามทำให้ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ได้มากขึ้น อลัน รูบิน และ แมรี สเต็ป (Alan Rubin & Mar Step, 2000) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจ การดึงดูดระหว่างบุคคล และปฏิสัมพันธ์แบบที่ผู้ฟัง/ผู้ชมรู้สึกว่ารู้จักคุ้นเคยกับบุคคลในสื่อ (parasocial interaction) พวกเขาพยายามหาเหตุผลว่าทำไมคนจึงชองเปิดฟังรายการพูดคุยทางวิทยุและทำไมจึงมีความเชื่อถือในตัวผู้จัดรายการ พวกเขาพบว่า แรงจูงใจเพื่อความบันเทิงอันน่าตื่นเต้น และการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร มีปฏิสัมพันธ์กับการรับรู้ของผู้ฟัง/ผู้ชมผ่านความสัมพันธ์แบบ parasocial นั่นเอง
ช่องว่างระหว่างการวิจัยที่เกิดขึ้น เช่น การวิจัยของ Herzog เรื่องการใช้สื่อของผู้ฟัง และแนวคิดที่หยั่งรากนานในฐานะที่เป็นทฤษฎีที่สำคัญและมีคุณค่าต่อจากนั้นอีก 30 ปี เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ที่มองว่าสื่อนั้นมีอิทธิพลอยู่จำกัด (limited effects paradigm) และทำให้คนหันไปสนใจกับสิ่งที่ไปจำกัดอิทธิพลของสื่อ อันได้แก่ สื่อ สาร หรือผู้ชม/ผู้ฟัง แทนที่จะไปสนใจว่าผู้ชม/ผู้ฟังนั้นใช้สื่อกันอย่างไร งานในยุคบุกเบิกของ Katz, Blumler และ Gurevitch จึงช่วยเปลี่ยนแปลงความสนใจในการศึกษาเรื่องดังกล่าว
การที่ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจและข้อสันนิษฐานของทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับนั้น มีสาเหตุมาจาก 1) นักวิจัยเรื่องอิทธิพลอันจำกัดของสื่อเริ่มที่จะไม่มีสิ่งที่จะให้ศึกษา เมื่อตัวแปรที่มาจำกัดอิทธิพลของสื่อเป็นเรื่องเก่าๆ จึงมองหาสิ่งที่สามารถมาอธิบายกระบวนการสื่อสารต่อไป 2) แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลอันจำกัดของสื่อไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดในวงการโฆษณาจึงมีการลงทุนกันอย่างมหาศาลเพื่อใช้สื่อ และเหตุใดคนจึงใช้เวลาจำนวนมากในการบริโภคสื่อ 3) มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดคนบางคนจึงตัดสินใจว่าต้องการผลกระทบอะไรจากสื่อและตั้งใจที่จะยอมรับผลกระทบนั้นๆ
จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งสามประการ นักวิจัยต่างๆจึงมีคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลอันจำกัดของสื่อ ในที่สุดนักวิจัยที่ไม่ยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกระบวนทัศน์กระแสหลักจึงถูกกีดกันออกจากแวดวงวิจัย ตัวอย่างเช่นในการวิจัยกระแสหลักนั้น นักจิตวิทยาซึ่งพยายามอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการชมรายการที่มีความรุนแรงกับพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นตามมา มักจะเน้นความสนใจไปที่ผลลัพธ์ทางลบที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผลกระทบในทางบวกของสื่อกลับถูกละเลย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสนใจในกลุ่มนักวิจัยซึ่งทำงานภายใต้กระบวนทัศน์อิทธิพลอันจำกัดของสื่อ ความสนใจของนักวิจัยเหล่านั้นเปลี่ยนจาก “สื่อทำอะไรกับคน” (what media do to people) ไปเป็น “คนทำอะไรกับสื่อ” (things people do with media) เนื่องจากผู้ชม/ผู้ฟังต้องการให้เกิดผลเช่นนั้น หรืออย่างน้อยก็ยอมให้เกิดผลเช่นนั้น
Uses and Gratifications Theory (2)
ขั้นตอนในการทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเป็นส่วนที่ต่อขยายจากทฤษฎีความต้องการและแรงจูงใจ (Needs and Motivation Theory) (Maslow, 1970) ในทฤษฎีความต้องการและแรงจูงใจนั้น อิบราฮิม มาสโลว์ (Ibrahim Maslow) ได้กล่าวว่าบุคคลทั่วไปจะเสาะแสวงหาสิ่งที่จะตอบสนองต่อลำดับขั้นความต้องการ (Hierachy of Needs) เมื่อบุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายที่เขาแสวงหาในระดับหนึ่ง เขาก็จะก้าวต่อไปยังขั้นที่สูงกว่า ดังนั้น ภาพของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้เสาะแสวงหาเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตน สอดคล้องกันพอดีกับแนวคิดของแคทซ์ บลูมเลอร์ และกูเรวิช์ (Katz, Blumler, and Gurevitch) ที่นำไปสู่การศึกษาว่าคนเรานั้นบริโภคสื่ออย่างไร
คนทั่วไปมีความสามารถที่จะมีส่วนร่วมเชิงรุกในกระบวนการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีนักวิจัยก่อนหน้านั้นหลายคนได้ยอมรับแนวคิดนี้เช่นกัน เช่น วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm, 1954) ได้พัฒนาเครื่องมือในการตัดสินว่า “คนเลือกอะไรจากสื่อมวลชน” หลักการเรื่องการเลือกบางส่วน (fraction of selection) ของ Schramm สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการที่บุคคลใช้เมื่อเขาตัดสินใจชมภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์
ความคาดหวังของสิ่งที่จะได้รับ
-----------------------------
ความพยายามที่จะต้องใช้
Schramm ได้พยายามหาคำตอบที่ว่าผู้ชมทั้งหลายมีการใช้ความพยายามโดยการตัดสินใจจากระดับของรางวัลหรือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากสื่อหรือสาร (เรียกว่า gratification) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่กลับกลายมาเป็นแนวคิดเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratifications) ในเวลาต่อมา
ภาพที่ 1: ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์โดยมาสโลว์
ที่มา: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Maslow%27s_hierarchy_of_needs.png
ขั้นที่ 1 Physiological เป็นขั้นความต้องการพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ อันได้แก่ความต้องการทางกายภาพ เราต้องหายใจ ต้องกินข้าว ต้องดื่มน้ำ ต้องมีเพศสัมพันธ์ ต้องขับถ่าย
ขั้นที่ 2 Safety เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้น อันได้แก่ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในด้านต่างๆ ทั้งความรู้สึกปลอดภัยทางร่างกาย ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การเงิน มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคภัย
ขั้นที่ 3 Love/Belonging เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 2 มนุษย์มีความต้องการทางสังคม ต้องการเพื่อน ต้องมีครอบครัวคอยสนับสนุน และต้องการความรู้สึกรักใคร่
ขั้นที่ 4 Esteem เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 3 มนุษย์ต้องการความรู้สึกยกย่องนับถือ ทั้งการยอมรับและภาคภูมิใจในตนเอง และการได้รับการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น
ขั้นที่ 5 Self-actualization เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 4 หมายถึง การบรรลุศักยภาพ ซึ่งหมายถึงการได้แสดงความสามารถเท่าที่ตนมี มาสโลว์ได้กำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของบุคคลที่ได้บรรลุศักยภาพไว้หลายประการรวมกัน จึงทำให้เขาพบคนบรรลุศักยภาพน้อยมากในงานวิจัยของเขา
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเป็นส่วนที่ต่อขยายจากทฤษฎีความต้องการและแรงจูงใจ (Needs and Motivation Theory) (Maslow, 1970) ในทฤษฎีความต้องการและแรงจูงใจนั้น อิบราฮิม มาสโลว์ (Ibrahim Maslow) ได้กล่าวว่าบุคคลทั่วไปจะเสาะแสวงหาสิ่งที่จะตอบสนองต่อลำดับขั้นความต้องการ (Hierachy of Needs) เมื่อบุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายที่เขาแสวงหาในระดับหนึ่ง เขาก็จะก้าวต่อไปยังขั้นที่สูงกว่า ดังนั้น ภาพของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้เสาะแสวงหาเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตน สอดคล้องกันพอดีกับแนวคิดของแคทซ์ บลูมเลอร์ และกูเรวิช์ (Katz, Blumler, and Gurevitch) ที่นำไปสู่การศึกษาว่าคนเรานั้นบริโภคสื่ออย่างไร
คนทั่วไปมีความสามารถที่จะมีส่วนร่วมเชิงรุกในกระบวนการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีนักวิจัยก่อนหน้านั้นหลายคนได้ยอมรับแนวคิดนี้เช่นกัน เช่น วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm, 1954) ได้พัฒนาเครื่องมือในการตัดสินว่า “คนเลือกอะไรจากสื่อมวลชน” หลักการเรื่องการเลือกบางส่วน (fraction of selection) ของ Schramm สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการที่บุคคลใช้เมื่อเขาตัดสินใจชมภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์
ความคาดหวังของสิ่งที่จะได้รับ
-----------------------------
ความพยายามที่จะต้องใช้
Schramm ได้พยายามหาคำตอบที่ว่าผู้ชมทั้งหลายมีการใช้ความพยายามโดยการตัดสินใจจากระดับของรางวัลหรือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับจากสื่อหรือสาร (เรียกว่า gratification) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่กลับกลายมาเป็นแนวคิดเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratifications) ในเวลาต่อมา
ภาพที่ 1: ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์โดยมาสโลว์
ที่มา: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Maslow%27s_hierarchy_of_needs.png
ขั้นที่ 1 Physiological เป็นขั้นความต้องการพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ อันได้แก่ความต้องการทางกายภาพ เราต้องหายใจ ต้องกินข้าว ต้องดื่มน้ำ ต้องมีเพศสัมพันธ์ ต้องขับถ่าย
ขั้นที่ 2 Safety เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้น อันได้แก่ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในด้านต่างๆ ทั้งความรู้สึกปลอดภัยทางร่างกาย ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การเงิน มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากโรคภัย
ขั้นที่ 3 Love/Belonging เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 2 มนุษย์มีความต้องการทางสังคม ต้องการเพื่อน ต้องมีครอบครัวคอยสนับสนุน และต้องการความรู้สึกรักใคร่
ขั้นที่ 4 Esteem เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 3 มนุษย์ต้องการความรู้สึกยกย่องนับถือ ทั้งการยอมรับและภาคภูมิใจในตนเอง และการได้รับการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น
ขั้นที่ 5 Self-actualization เป็นขั้นความต้องการของมนุษย์ที่สูงขึ้นจากขั้นที่ 4 หมายถึง การบรรลุศักยภาพ ซึ่งหมายถึงการได้แสดงความสามารถเท่าที่ตนมี มาสโลว์ได้กำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของบุคคลที่ได้บรรลุศักยภาพไว้หลายประการรวมกัน จึงทำให้เขาพบคนบรรลุศักยภาพน้อยมากในงานวิจัยของเขา
Uses and Gratifications Theory (1)
ทฤษฎีเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (จากสื่อ) นั้น นับว่าเป็นทฤษฎีที่นักศึกษานิเทศศาสตร์นิยมใช้ในการทำวิทยานิพนธ์มาก แต่ไม่ค่อยพบที่อ้างอิงแบบถูกต้องและแสดงความเข้าใจอย่างเพียงพอ เลยขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ
แนวคิดเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ (Uses and Gratifications Theory: U&G)
ในยุคแรกๆมีทฤษฎีที่จัดอยู่ในกลุ่มของ “ทฤษฎีสังคมมวลชน” (Mass Society Theory) ซึ่งมีแนวคิดที่ว่าผู้คนทั่วไปจำต้องตกเป็นเหยื่อของสื่อมวลชนที่ทรงอิทธิพล ในเวลาต่อมาแนวคิดนี้ก็ถูกลดความน่าเชื่อถือลง เนื่องจากการศึกษาทางสังคมศาสตร์และการสังเกตทั่วๆไปไม่สามารถยืนยันได้ว่า “สื่อ” และ “สาร” จะทรงพลังได้ขนาดนั้น นั่นหมายความว่าสื่อไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงต่อทุกคน และคนที่ได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบจากสื่อก็ไม่ได้ผลลัพธ์เท่ากันทุกคน
ในเวลาต่อมา ทฤษฎีสังคมมวลชนก็ถูกทดแทนด้วยทฤษฎีที่เรียกว่า “ผลกระทบที่จำกัด” (Limited Effects Theories) ซึ่งมองว่าสื่อนั้นมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยหรือถูกจำกัดโดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวและสังคมของผู้รับสาร แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบที่จำกัดนี้สามารถอธิบายได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกคือ การมองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Perspective) ซึ่งมองว่าอำนาจของสื่อที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามปัจจัยส่วนบุคคล เช่น สติปัญญาและความนับถือในตนเอง เช่น คนที่ฉลาดและมีความมั่นคงจะมีความสามารถป้องกันตนเองจากผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาของสื่อได้ ส่วนอีกแนวหนึ่งนั้นเป็นเรื่องแบบจำลองของกลุ่มทางสังคม (Social Categories Model) แนวทางนี้จะมองว่าพลังอำนาจของสื่อจะถูกจำกัดโดยกลุ่มสมาชิกผู้ชม/ผู้ฟัง และความเกี่ยวพันกับกลุ่ม เช่น คนที่นิยมพรรคการเมืองฝ่ายเสื้อแดงก็มีแนวโนเมที่จะใช้เวลากับพวกที่นิยมเสื้อแดงด้วยกัน และช่วยกันตีความสารจากสื่อในแนวทางที่สอดคล้องและเข้าข้างกับกลุ่มเสื้อแดง
จากทฤษฎี/มุมมองต่ออิทธิพลของสื่อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แสดงถึงการไม่ให้ความสำคัญแก่ผู้รับสารมากนัก ทฤษฎีเก่าของสังคมมวลชนมองว่าคนเราไม่ฉลาดพอและไม่เข้มแข็งพอที่จะปกป้องตนเองจากอิทธิพลของสื่อ ขณะที่ทฤษฎีหลัง (Limited Effects Theory) มองว่าคนเรามีทางเลือกส่วนตัวค่อนข้างน้อยในการตีความ/แปลความหมายของสารที่ตนบริโภค และในการตัดสินระดับของผลกระทบจากสารที่จะมีต่อตน ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อมุมมองของสมาชิกผู้รับสารทั่วๆไป นักทฤษฎีกลุ่มหนึ่งอันได้แก่ Elihn Katz, Jay G. Blumler และ Michael Gurevitch (1974) จึงได้นำเสนอการอธิบายถึงบทบาทของกลุ่มผู้ชมอย่างเป็นระบบและละเอียดลึกซึ้งในกระบวนการสื่อสารมวลชน พวกเขาสร้างความคิดขึ้นมาและตั้งชื่อมันว่า “ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ” (Uses and Gratifications Theory: U&G)
ทฤษฎี U&G นี้กล่าวว่าคนเราจะแสวงหาสื่อและเนื้อหาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจ (หรือผลลัพธ์) เฉพาะตน นักทฤษฎีด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมองบุคคลเป็นฝ่ายรุก (active) หรือเป็นผู้กระทำมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรับ (passive) หรือผู้ถูกกระทำ เนื่องจากผู้ฟัง/ผู้ชมสามารถตรวจสอบและประเมินผลสื่อประเภทต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการสื่อสาร (Wang, Fing, & Cai, 2008)
แนวคิดเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ (Uses and Gratifications Theory: U&G)
ในยุคแรกๆมีทฤษฎีที่จัดอยู่ในกลุ่มของ “ทฤษฎีสังคมมวลชน” (Mass Society Theory) ซึ่งมีแนวคิดที่ว่าผู้คนทั่วไปจำต้องตกเป็นเหยื่อของสื่อมวลชนที่ทรงอิทธิพล ในเวลาต่อมาแนวคิดนี้ก็ถูกลดความน่าเชื่อถือลง เนื่องจากการศึกษาทางสังคมศาสตร์และการสังเกตทั่วๆไปไม่สามารถยืนยันได้ว่า “สื่อ” และ “สาร” จะทรงพลังได้ขนาดนั้น นั่นหมายความว่าสื่อไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงต่อทุกคน และคนที่ได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบจากสื่อก็ไม่ได้ผลลัพธ์เท่ากันทุกคน
ในเวลาต่อมา ทฤษฎีสังคมมวลชนก็ถูกทดแทนด้วยทฤษฎีที่เรียกว่า “ผลกระทบที่จำกัด” (Limited Effects Theories) ซึ่งมองว่าสื่อนั้นมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยหรือถูกจำกัดโดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวและสังคมของผู้รับสาร แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบที่จำกัดนี้สามารถอธิบายได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกคือ การมองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Perspective) ซึ่งมองว่าอำนาจของสื่อที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามปัจจัยส่วนบุคคล เช่น สติปัญญาและความนับถือในตนเอง เช่น คนที่ฉลาดและมีความมั่นคงจะมีความสามารถป้องกันตนเองจากผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาของสื่อได้ ส่วนอีกแนวหนึ่งนั้นเป็นเรื่องแบบจำลองของกลุ่มทางสังคม (Social Categories Model) แนวทางนี้จะมองว่าพลังอำนาจของสื่อจะถูกจำกัดโดยกลุ่มสมาชิกผู้ชม/ผู้ฟัง และความเกี่ยวพันกับกลุ่ม เช่น คนที่นิยมพรรคการเมืองฝ่ายเสื้อแดงก็มีแนวโนเมที่จะใช้เวลากับพวกที่นิยมเสื้อแดงด้วยกัน และช่วยกันตีความสารจากสื่อในแนวทางที่สอดคล้องและเข้าข้างกับกลุ่มเสื้อแดง
จากทฤษฎี/มุมมองต่ออิทธิพลของสื่อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แสดงถึงการไม่ให้ความสำคัญแก่ผู้รับสารมากนัก ทฤษฎีเก่าของสังคมมวลชนมองว่าคนเราไม่ฉลาดพอและไม่เข้มแข็งพอที่จะปกป้องตนเองจากอิทธิพลของสื่อ ขณะที่ทฤษฎีหลัง (Limited Effects Theory) มองว่าคนเรามีทางเลือกส่วนตัวค่อนข้างน้อยในการตีความ/แปลความหมายของสารที่ตนบริโภค และในการตัดสินระดับของผลกระทบจากสารที่จะมีต่อตน ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อมุมมองของสมาชิกผู้รับสารทั่วๆไป นักทฤษฎีกลุ่มหนึ่งอันได้แก่ Elihn Katz, Jay G. Blumler และ Michael Gurevitch (1974) จึงได้นำเสนอการอธิบายถึงบทบาทของกลุ่มผู้ชมอย่างเป็นระบบและละเอียดลึกซึ้งในกระบวนการสื่อสารมวลชน พวกเขาสร้างความคิดขึ้นมาและตั้งชื่อมันว่า “ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ” (Uses and Gratifications Theory: U&G)
ทฤษฎี U&G นี้กล่าวว่าคนเราจะแสวงหาสื่อและเนื้อหาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจ (หรือผลลัพธ์) เฉพาะตน นักทฤษฎีด้านการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจมองบุคคลเป็นฝ่ายรุก (active) หรือเป็นผู้กระทำมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรับ (passive) หรือผู้ถูกกระทำ เนื่องจากผู้ฟัง/ผู้ชมสามารถตรวจสอบและประเมินผลสื่อประเภทต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการสื่อสาร (Wang, Fing, & Cai, 2008)
Subscribe to:
Posts (Atom)